วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รวมบทความเกี่ยวกับสารทำความเย็นCold22

รวมบทความเกี่ยวกับสารทำความเย็นCold22


ตอบ

ก็อย่างที่บอกว่าผมไม่ได้ขาย cold แต่ถามคนขายมาเยอะก่อนจะซื้อ จึงพอมีความรู้บ้าง เรื่องส่วนประกอปของ COLD ว่ามี propane กี่ % ผมดูที่ข้างถังและเชื่อตามนั้น ไม่ค้นต่อ เสียเวลา เพราะผมเชื่อ 100% ว่ามันติดไฟ

น้ำยาตัวนี้นำเข้าจากทางยุโรป(ถามคนขาย) เขาไม่ได้ผลิต propane หรือ isobutane แต่เขาเป็นคนกำหนดสูตรน้ำยาว่าจะผสมด้วยอัตราส่วนเท่าไร ดังนั้นคนผลิตจริงๆอยู่เมืองนอก เขาใช้วิธีอะไรในการทำให้บริสุทธ์ผมไม่รู้

สารตั้งต้นก่อนผสมเป็น COLD มันจะบริสุทธิ์แค่ไหนผมไม่รู้ เพราะไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ ผมสนแต่ว่าเขา test มาแล้วกับแอร์ และมันใช้ได้กับแอร์ ได้รับการรับรองว่าใช้ได้แอร์ไม่พังแน่ จุดนี้ผมพอใจแล้วและไม่ค้นต่อ หลายๆประเทศทั่วโลกก็ยอมรับและใช้งานโดยยอมรับว่ามันมีความปลอดภัยสำหรับระดับการใช้งานตามบ้าน เพราะปริมาณที่ใช้ถือว่าน้อยมาก

จุดเด่นน้ำยาตระกูล cold ที่ทุก research ยอมรับคือมันช่วยประหยัดไฟประมาณ 13-17% นี่เป็นค่าจาก lab แต่จากคนที่ไปเปลี่ยนน้ำยามาเล่าให้ฟังว่าแอร์บางตัวเปลี่ยนน้ำยา cold แล้วกินกระแสไฟลดลงถึง 30% และทำให้เสียงคอมเพรสเซอร์เงียบลงเยอะ เพราะน้ำยามันบีบอัดให้เป็นของเหลวง่าย ไม่กินแรงคอมแอร์

จุดเด่นอีกข้อคือมันมาจากธรรมชาติเป็น by product ของการผลิตน้ำมัน มันไม่ทำให้เกิด greenhouse effect

จุดเสียข้อเดียวเท่านั้นที่หาเจอคือติดไฟ ซึ่งผมพูดมาหลายครั้งแล้วตั้งแต่ตอนแรกๆ และผมไม่เคยสักครั้งที่จะพูดว่า COLD ปลอดภัยกว่า R22 ตรงนี้ชัดแล้วนะครับ clear กันไปทีละจุด ผมไม่เข้าข้าง cold22 และ R22 ว่ากันไปตาม fact


ข้อความ อันนี้เป็นการคำนวนจากตัวเลข
ของความเสี่ยง ถ้ามีการรั่วที่คลอย์เย็นครับ


คราวนี้เรื่องแอร์รั่ว ตกลงเป็นที่ตัวแอร์เอง รั่วหมดภายใน 1 วัน
ผมตีซะว่า 12 ชม ก็แล้วกัน รั่วที่คอล์ยเย็นในห้องนอน
เติมน้ำยา 0.5 กิโล ขนาดห้องผมตีซะว่า 16 ตรม
ปริมาณ 1 คิวบิกเมตรคือ 1,000 ลิตร
ผมใช้ข้อมูลของคุณเจ้าหน้าที่ว่า propane เหลว 0.5 กก มีปริมาตรประมาณ 0.5 ลิตร ที่ temp 15 องศา คุณกะว่าที่รั่วออกมาที่ 15 องศาน่าจะประมาณ 137 ลิตร ผมตีว่าที่ 30 องศาปริมาตรเป็น 137 x 2 = 274 ลิตร ตีเป็น 300 ลิตรเลย คิดง่ายๆ

แกส 300 ลิตร ที่รั่วออกมาหนักกว่าอากาศ จะลงมากองอยู่กับพื้น แต่จะสูงจากพื้นกี่ ซม

พื่นที่ 16 ตรม ความสูง 1 ซมจากพื้น หรือ 0.01 เมตร
คิดเป็นปริมาตร 16 x 0.01 = 0.16 คิวบิกเมตร
ถ้าแปลงเป็นลิตรจะได้ = 0.16 x 1,000 = 160 ลิตร
การคำนวนข้างต้นแสดงว่าถ้าแกสรั่ว 160 ลิตร จะลอยสูงจากพื้น 1 ซม แต่เราประมาณว่าแกสสรั่วออกมาประมาณ 300 ลิตร จะลอยสูงจากพืนไม่เกิน 2 ซม ครับ

แอร์โดยปกติติดตัวคอล์ยเย็นที่ความสูง 190 - 200 ซม จากพื้น แต่แก๊สอยู่แค่ 2 ซม จากพื้น เราไม่จุดไฟกันที่ระดับ 2 ซม หรอกครับ ตำแหน่งที่ติดปลั๊กไฟยังสูงเกิน 2 ซม เลย แกสสูงไม่ถึงระดับที่ติดปลั๊กไฟด้วยซ้ำ

ถ้าผมเพิ่มปริมาณแกสที่รั่วให้มากกว่าเดิมอีก 5 เท่า(ซึ่งไม่มีทางมากขนาดนั้น) ระดับแกสจะสูงจากพื้นแค่ 10 ซม ยังไกลจากแอร์นัก

ต่อมาเรื่อง gas flow rate เราคำนวนได้ว่าแกสที่ออกมามีประมาณ 300 ลิตร รั่วหมดใน 12 ชมหรือ 12x60=720 นาที

คิดเป็น flow rate 300/720 = 0.416 ลิตร/นาที แกสปริมาณนี้ที่รั่วจะค่อยๆจมสู่พื้นห้อง ช้าๆ และจะถูกเจอจางด้วยปริมาณอากาศทั้งห้อง ทำให้ความเข้มข้นของแกสที่รั่วออกมาลดลงไปอีก พอจะมองเห็นประเด็นตรงนี้หรือยังครับว่า มันจะเจอจางลงจน โอกาสติดไฟต่ำลงไปอีก นี่คิดว่าปิดห้องตลอดนะ

ถ้าห้องนั้น ปิดเปิด จากการเดินเข้า-ออก อากาศจะถ่ายเท ความเข้มข้นของแกสยิ่งต่ำลงไปอีก
คราวนี้คุณเจ้าหน้าที่ น่าจะเรียนสายวิทย์ ลองประเมินความเสี่ยงออกมาสิครับ ว่าโอกาสที่มันจะติดไฟน่าจะต่ำขนาดไหน นี่เป็นเหตุผลที่หลายๆประเทศทั้งในยุโรป อาหรับ เอเชีย ญี่ปุ่น จึงอนุญาตให้ใช้สารทำความเย็นแบบ propane ในที่พักอาศัยได้ เพราะแอร์ในบ้านพักตัวเล็ก ใช้น้ำยาไม่มาก แกสรั่วออกมากก็นิดเดียว แถมจะโดนอากาสที่ถ่ายเทจนแกสมันกระจายตัวออกไปหมด

ด้วยการคำนวนข้างต้น ผมเองจึงคิดว่าความเสี่ยงเรื่องสำหรับใช้น้ำยาแอร์แบบ propane ต่ำมากๆๆๆๆ และผมเห็นด้วยกับหลายๆประเทศว่ามันปลอดภัยเพียงพอสำหรับใช้งานที่บ้านผมเอง สำหรับคนอื่นก็ตัดสินใจเอง จากข้อมูลข้างต้น เงินของคุณ คุณต้องตัดสินใจเอง

ผมหาข้อมูลโดย search ด้วย keyword propane refrigerant iso-butane efficiency cooling ลองๆใช้หลายๆคำปนกัน คุณจะพบบทความมาเพียบ ผมอ่านอยู่หลายวันเหมือนกัน ได้ข้อมูลมาด้วยว่า greenpeace สนับสนุนให้ทุกประเทศใช้นำยาตระกูลนี้ เพราะมันไม่ทำให้เกิด green house effect ในขณะที่ R22 เป็นตัวการของ green house effect


น้ำยาตระกูลนี้เป็นน้ำยาทางเลือก ผู้บริโภคต้องเลือกเอง โดยพิจารณาจากข้อดี ข้อเสีย ในทุกด้าน
ถ้าพูดในแนวทางปฎิบัตินะครับ ยังไงก็ไม่มีทางติดแน่นอนครับ
ยกตัวอย่างง่ายๆ เลยนะครับ
เวลาคุณฉีดยากันยุง แล้วคุณคิดไหมว่ามันติดไฟหรือเปล่า?
เพราะแก๊สที่ออกมาพร้อม DDT นั้นคือ LPG เพียวๆ พร้อมสารกันยุง
มันยังไม่ติดไฟเลยครับ และอีกอย่างสัดส่วนอากาศ (O2) มากว่า
ยังไงก็ไม่ติดไฟครับ เพราะสัดส่วนอากาศกับ แก๊สไม่ได้สัดส่วนก็ไม่ติดไฟครับ

ไม่งงนะครับ
เพราะผมจะเก่งเรื่องปฎิบัติมากกว่าครับ
ผมจะไม่ถนัดเรื่องวิชาการอ่ะครับ
update สุดๆ ครับ
เป็นคำตอบตรงประเด็นกับที่คุณเอกถามไว้เลยครับ

ยกมาจากเวทีมวย pantip ครับ


ว่าจะไม่ต่อแล้วเชียว ขออีกนิดตามคุณเจ้าหน้าที่ก็แล้วกัน

ตาม คห41 ระบุว่าถ้าpropaneมันรั่วตอนที่แอร์กำลังทำงานจะเกิดอะไรขึ้น เราต้องรู้ก่อนว่า

1.น้ำยาแอร์รั่วออกมาสัก 30% ของทั้งหมดแอร์ก็ไม่เหลือความเย็นแล้ว พอแอร์พ่นลมเปล่าๆที่ไม่มีความเย็นออกมา คนโดยทั่วไปจะปิดแอร์ ครับ ไม่รู้จะเปิดทำไม เปลืองไฟ

2.ปริมาณลมแอร์พ่นออกมาตอนแอร์กำลังทำงานนั้น จะผสมกับไอของ propane ที่รั่วด้วยอัตรา 0.4 ลิตร/นาที ทำให้ความเข้มข้นของแกสจางไปมาก ผมเปิด spec ของแอร์ diakin inverter รุ่น 12,000 btu ที่ใช้อยู่ ระบุว่าพัดลมแอร์ที่ระดับ medium จะพ่นลมที่ปริมาตร 7.4 ลบ เมตร/นาที หรือ 7,400 ลิตร/นาที

เมื่อคิดอัตราส่วนของแกสที่รั่ว/ปริมาตรอากาศ จะเท่ากับ 0.4 / 7,400 = 0.000054 ไม่มีหน่วย เพราะหน่วยตัดกันไปหมด ด้วยอัตราส่วน 0.000054 นี้ต่ำมาก ต่ำกว่าความเข้มข้นขั้นต่ำที่ propane จะติดไฟเป็นร้อยๆเท่า จนไม่สามารถติดไฟได้ ไม่ว่าคุณจะเอาไฟแช็คไปจุดที่หน้าแอร์ตรงที่ลมพ่นมาก็ตาม ยังไงไฟก็ไม่ติด มีแต่ไฟแชคจะดับเพราะโดนลมเป่า

จากนั้นลมที่แอร์พ่นออกมาซึ่งมีแกสผสมเจอจางมากๆๆๆๆ จนทำยังไงก็ไม่ติดไฟ จะกระจายทั่วห้อง และแกสจะค่อยๆจมสู่พื้นห้อง ที่ระดับความสูงไม่เกิน 1 ซม

(ผมไม่ได้พิมพ์ผิด การคำนวนก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า 2 ซม นั้นหมายถึงน้ำยารั่วหมด100% 0.5 กิโล แต่ในทางปฏิบัติน้ำยาจะไม่รั่ว 100% หรอกครับ เหลือในระบบอยู่บ้าง ผมเลยตีซะรั่ว 50% แล้วกัน)

อันนี้เป็นคำแนะนำจากคุณ ปากช่อง (พี่ยุทธ)

คราวนี้ยังเหลือจุดไหนอีกครับ ที่คุณเจ้าหน้าที่คิดว่าไม่ปลอดภัยอีก ผมจะไปหาข้อมูลมาให้ดู

แต่ก่อนที่คุณเจ้าหน้าที่จะเอามาลงเพิ่ม ขอความร่วมมือทำการบ้านหน่อยครับ คือช่วยไป search หาข้อมูลสนับสนุนความเชื่อของคุณเจ้าหน้าที่สักนิด แล้วใช้วิชาorg chem ช่วยอีกสักหน่อย ว่าสิ่งที่กำลังจะโพสต์เข้ามา มีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์แน่นอน เพราะก่อนผมจะตอบเนี่ย ผมคิด 18 ตลบ แถมค้นข้อมูลประกอปอีก เสียเวลาผมครับ

เราคุยกันทางวิทยาศาสตร์ ประเด็นที่คุยคือ ความปลอดภัยของแกส propane ที่เอามาเป็นสารทำความเย็นสำหรับเครื่องปรับอากาศในบ้านพัก

คุณเจ้าหน้าที่พยายามจะชี้ว่าไม่ปลอดภัย แต่พูดลอยๆ(ตามคห 41) ใช้ความรู้สึกทั่วๆไปว่าpropaneมันติดไฟได้ อันตรายแน่นอน เลยฟันธงว่าอย่าใช้ โดยไม่มีการคำนวนประกอปที่ชัดเจน หรือแสดงหลักฐานชัดเจนเพื่อยืนยันความคิดว่ามันอันตรายต่อการใช้ในบ้าน

แต่ผมแย้งว่ามันปลอดภัยแน่นอนสำหรับการใช้งานในบ้าน เพราะปริมาณ propane ที่ใช้น้อยมาก แล้วผมแสดงวิธีคิด คำนวนปริมาณแกสที่รั่ว ความเข้มข้นของแกสที่รั่ว ว่าความเข้มข้นมันต่ำจนทำยังไงก็ไม่ติดไฟ

ถ้าจะโพลต์ต่อไป รบกวนใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ แสดงการคำนวน หรือ research หรือ paper ยืนยันความคิดของคุณด้วยครับ ว่ามันไม่ปลอดภัย ที่ผมกล้าท้า เพราะไอ้ research กับ paper ของเมืองนอกทั้งหมดที่ผมค้นมาน่ะ มันระบุว่า ประเทศในยุโรปที่อนุญาตให้ใช้ COLD หรือ propane เป็นสารทำความเย็นเพราะยอมรับความปลอดภัยของมัน แถมยังชอบคุณสมบัติของ propane ที่ไม่ทำลาย ozone ในบรรยากาศ จึงไม่เป็นสาเหตุของ green house effect ด้วย

อย่าลืมครับ เราคุยกันด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ เอาข้อมูล ความจริงมาหักล้างกันครับ นั่นคือสิ่งที่ผมเรียนมา แม้จะไม่ได้เอกเคมีก็เถอะ

สารทำความเย็นตระกูล Propane นอกจากใช้กับแอร์บ้าน แล้วยังมีแบบที่ใช้กับรถยนตร์ด้วยนะครับ มันชื่อ COLD 134 ใช้แทน R134 และ COLD12 ใช้แทน R12 ซึ่งมันทำให้คอมแอร์กินแรงเครื่องยนตร์ลดลงประมาณ 10% และที่สำคัญคือมันเย็นกว่าเดิมด้วย ที่รู้ดีเพราะลองอัดใช้กับรถตัวเองแล้วครับ ใช้แล้วไม่อยากกลับไปใช้น้ำยาแบบเดิมเลย ที่สำคัญคือราคาของมันเวลาไปอัดตามร้านที่ให้บริการ ราคาพอๆกับน้ำยาแบบเดิมเลย

ผมได้ลองน้ำยาตระกูลนี้กับรถตัวเองก่อน เห็นว่าใช้ดีเลยลองกับแอร์บ้านก็ใช้ได้ดี ลดการใช้ไฟตามที่บอกไว้ข้างต้น เลยหาข้อมูลเพิ่มเติมมาเยอะพอสมควร จนมั่นใจกับความปลอดภัยของมัน



ที่มา www.coolmansale.com

ไม่มีความคิดเห็น: