วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วิธีประหยัดพลังงาน 108 วิธี

๑๐๘ วิธี ประหยัดพลังงาน .

Save energy project

ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังอยู่ในขั้นวิกฤติ เป็นหนี้อยู่ประมาณ สองล้าน ล้านบาท ท่ามกลางสภาวการณ์ที่เลวร้ายนี้ ประชาชนไทยทั้งหลาย ต่างก็มีความห่วงใยในประเทศชาติ มีความรักชาติที่เข้มข้น และทุกคนที่จะช่วยประเทศชาติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสามัคคี ที่จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ เพราะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าในยามที่ คับขันนี้คนไทยพร้อมใจที่จะช่วยประเทศชาติ บ้างก็สละเงิน ทอง และทรัพย์สินส่วนตัว นั่นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังมีวิธีที่ทุกคน สามารถที่จะช่วยชาติได้ คือการลดการใช้พลังงานอย่างฉับพลันทันที ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้น้ำ น้ำมัน หรือไฟฟ้า พลังงานที่เราใช้มากมายในขณะนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิ์ภาพ ใช้มากเกินความจำเป็น ขาดความเอาใจใส่ ไม่คิดก่อนใช้ ทำให้เกิดการรั่วไหล สูญเปล่าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากเรารอบครอบกันสักนิดก็จะช่วย ประอหยัดพลังงานได้อีกไม่น้อยเลยทีเดียว ๑๐๘ วิธีประหยัดพลังงานที่ได้อ่าน ในวารสารฉบับนี้ จะใช้เป็นจุดเริ่มต้นของคนไทยได้เข้าใจถึง การใช้พลังงานอย่างถูกต้อง ไม่เกิดการสูญเสีย ไม่ใช้มากเกินความจำเป็น การลดการใช้พลังงานพวกเราทุกคน ย่อมหมายถึงการมีส่วนได้ช่วยชาติ โดยที่เราไม่ต้องออกแรง หรือทรัพย์สินเงินทองอื่นใด เพรียงความใส่ใจและความตั้งใจและความตั้งใจจริงที่จะลด การใช้พลังงานส่วนเกินใกล้หมดไปเท่านั้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติขอมอบ ๑๐๘ วิธีการประหยัดพลังงานที่คนไทยทุกคนสามารถ ที่จะนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำ ได้โดยไม่ยากลำบากอะไร ไว้เป็นแนวทางเพื่อให้ทุกคนนำไปปฏิบัติให้เป็นนิสัยตลอดไป โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ แล้วทำต่อ ๆ ไป ทุก ๆ วัน และแนะนำให้คนอื่นได้ร่วมประหยัดพลังงานด้วย

วิธีประหยัดน้ำมัน

๑. ตรวจสอบลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้น ทำให้สินเปลืองน้ำมันมากกว่า ยางที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐานกำหนด

๒. สับเปลี่ยนยาง ตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนด จะช่วยประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกมาก

๓. ดับเครื่องรถยนต์ทุกครั้งที่จะจอดรถนาน ๆ แค่จอดรถติดเครื่องไว้ ๑๐ นาที ก็เสียน้ำมันฟรี ๆ ๒๐๐ ซีซี

๔. ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่ขึ้นของ ลงของ หรือคอยคน เพราะการติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้เปลืองน้ำมันและสร้างมลพิษอีกด้วย

๕. ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก ๑๐ ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่า ๆ ถึง ๑๐๐ ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถนี้สามารถวิ่งได้ไกล ๗๐๐ เมตร

๖. ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่าง อย่างที่เราเรียกว่าเบิ้ลเครื่อง การกระทำดังกล่าว ๑๐ ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง ๕๐ ซีซี ปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ไกล ๓๕๐ เมตร

๗. ตรวจเครื่องตามกำหนด ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เช่นทำความสะอาดระบบไฟจุดระเบิดตั้งไฟแก่อ่อนให้พอด ีจะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง ๑๐ %

๘. ไม่ต้องอุ่นเครื่อง หากออกรถและขับช้า ๆ สัก ๑ - ๒ กม. แรก เครื่องยนต์ก็จะอุ่นเองไม่ต้องเปลืองน้ำมันไปกับการอุ่นเครื่อง

๙. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เพราะเครื่องยนต์จะทำงานหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกหนักมาก จะทำให้เปลืองน้ำมันและสึกหรอสูงขึ้น

๑๐. ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน หรือคาร์พูล ไปไหนมาไหนที่หมายเดียวกัน ทางผ่านหรือใกล้เคียงกันควรใช้รถคันเดียวกัน

๑๑. เดินทางเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อประหยัดน้ำมันบ้างครั้งบ้างเรื่องอาจจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ ก็จะได้ประหยัดน้ำมันประหยัดเวลา

๑๒. ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ ๆ ที่ทำงาน อาจจะเดินหรือใช้จักรยานบ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ทุกครั้ง เป็นการออกกำลังกายและประหยัดน้ำมันด้วย

๑๓. ก่อนไปพบใครควรโทรศัพท์ไปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้ไม่เสียเที่ยว ไม่เสียเวลาและน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์

๑๔. สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดีจะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลาเปลืองน้ำมันใน การหา

๑๕. ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เนต หรือใช้บริการส่งแบบเอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดน้ำมัน

๑๖. ไม่ควรเดินทางโดยไม่ว่างแผน การเดินทาง ควรกำหนดเส้นทาง และช่วงเวลาการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อประหยัดน้ำมัน

๑๗. หมั่นศึกษาเส้นทางลัด ช่วยให้ไม่ต้องเดินทางยาวนาน ไม่ต้องเจอปัญหาจราจร ช่วยการประหยัดทั้งเวลาและประหยัดน้ำมัน

๑๘. ควรขับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็วที่ ๗๐ - ๘๐ กม. / ชม. ที่ ๒,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับนี้ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า

๑๙. ไม่ควรลากเกียร์ เพราะการลากเกียร์ต่ำนาน ๆ จะทำให้เครื่องยนต์หมุนรอบสูงกินน้ำมันมาก และเครื่องยนต์ร้อนจัดสึกหรอง่าย

๒๐. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนัก เช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เกิดการถ่ายเทไม่สะดวกไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี

๒๑. ไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินที่มีค่าอ๊อกเทนสูงเกินความ จำเป็นของเครื่องยนต์ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์

๒๒. หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศ ตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อความเหมาะสมและการประหยัดน้ำมัน

๒๓. สำหรับเครื่องยนต์ เบนซิน ควรที่เลือกเติมน้ำมันให้ถูกชนิดถูกประเภท โดยเลือกตามค่าอ๊อกเทนที่เหมาะสมกับรถแต่ละยี่ห้อ ( สังเกตจากฝาปิดน้ำมันใกล้บ้าน )

๒๔. ไม่จำเป็นต้องใช้แอร์ตลอดเวลา ยามเช้า ๆ เปิดกระจกรับความเย็นจากลมธรรมชาติบ้างก็สดชื่นดี ประหยัดน้ำมันได้

๒๕. ไม่ควรเร่งแอร์ในรถอย่างเต็มที่จนเกินความจำเป็น ไม่เปิดแอร์แรง ๆ จนรู้สึกหนาวจนเกินไป เพราะสิ้นเปลืองพลังงาน

วิธีการประหยัดไฟฟ้า

๒๖. ปิดสวิตซ์ไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟฟ้าทุกครั้งที่ออกจากห้อง

๒๗. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานดูฉลากแสดง ประสิทธิ์ภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ ๕ ต้องเลือกใช้เบอร์ ๕

๒๘. ปิดแอร์ทุกครั้งเมื่อไม่เกิน ๑ ชม. สำหรับแอร์ทั่วไปและ ๓๐ นาที สำหรับแอร์เบอร์ ๕

๒๙. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของแอร์บ่อย ๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของแอร์

๓๐. ตั้งอุณหภูมิปรับอากาศที่ ๒๕ องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังเย็นสบายอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ๑ องศาต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ - ๑๐ องศา

๓๑. ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจาก ห้องที่ติดตั้งแอร์ ตรวจสอบและรอยรั่วตามผนังฝาเพดานประตู้ช่องแสง และปิดประตู้ห้องทุกครั้งที่เปิดแอร์

๓๒. ลดการหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุใดที่ไม่ จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีแอร์ เพื่อลดการสูญเสียและใช้พลังงานในการปรับอากาศภายในอาคาร

๓๓. ติดตั้งฉนวนกันความร้อน โดยรอบห้องที่มีอากาศ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้ามาภายในอาคาร

๓๔. ใช้มู่ลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคารและฝาผนัง เพื่อไม่ให้แอร์ทำงานหนักเกินไป

๓๕. หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้า สู่ห้องปรับอากาศ ติดตั้งและใช้อุปกรณ์ควบคุมการ เปิด - ปิด ประตูภายในห้องที่มีแอร์

๓๖. ควรปลูกต้นไม้รอบ ๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ ๑ ต้น ให้ความเย็นเท่ากับแอร์ ๑ ตัน หรือให้ความเย็นประมาณ ๑๒,๐๐๐ BTU

๓๗. ควรปลูกต้นไม้เพื่อบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคาเพื่อแอร ์จะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป

๓๘. ปลูกพืชคุมดินเพื่อควบคุมความร้อยเพิ่มความชื้นให้กับดิน จะทำให้บ้านเย็นไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์เย็นจนเกินไป

๓๙. ในสำนักงานให้ปิดไฟปิดแอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นในช่วงเวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้

๔๐. ไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ก่อนเวลาเริ่มทำงาน และควรปิดแอร์ก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย เพื่อประหยัดไฟฟ้า

๔๑. เลือกซื้อพัดลมที่ไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เพราะพัดลมที่ไม่ได้คุณภาพมักเสียง่ายทำให้สิ้นเปลือง

๔๒. หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนแอร์จะช่วยประหยัดไฟ ประหยัดเงินได้มากทีเดียว

๔๓. ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ หรือใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์

๔๔. ควรใช้หลอดประหยัดไฟหรือบัลลาสต์อิเลคโทรนิค คู่กับหลอดผอมจอมประหยัด จะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการประหยัดไฟฟ้าได้อีก

๔๕. ควรใช้โฟมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่าง ๆ เพื่อช่วยแสงสว่างจากหลอดไฟกระจายได้อย่างเต็มประสิทธิ์ภาพ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้หลอดไฟฟ้าที่มีวัตต์สูงช่วยประหยัดพลังงาน

๔๖. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้านเพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรทำอย่างน้อย ๔ปี ต่อครั้ง

๔๗. ใช้หลอดไฟฟ้าที่มีวัตต์ต่ำ สำหรับบริเวณที่จำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้ทั้งคืน ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือนอกบ้าน เพื่อประหยัดไฟฟ้า

๔๘. ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะทำงานหรือติดตั้ง เฉพาะจุดแทนการเปิดไฟฟ้าทั้ง ห้องเพื่อทำงานจะประหยัดไฟฟ้าลงได้มาก

๔๙. ควรใช้สีอ่อนตกแต่งอาคาร ทาผนังภายนอกอาคารเพื่อการสะท้อนแสงที่ดี และทาภายในอาคารเพื่อทำให้ห้องสว่างได้มากกว่า

๕๐. ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น การติดกระจกหรือติดฟิล์มที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน แต่ยอมให้แสงผ่านเข้าได้เพื่อลดการใช้พลังงานเพื่อแสงสว่างภายใน อาคาร

๕๑. ถอดหลอดไฟอีกครึ่งหนึ่ง ในบริเวณที่มีความต้องการใช้แสงสว่างน้อย หรือบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอแล้ว

๕๒. ปิดตู้เย็นให้สนิททำความสะอาดภายในตู้เย็น และแผ่นระบายความร้อนหลังตู้เย็น สม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ตู้เย็นทำงานหนักและเปลืองไฟ

๕๓. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ อย่านำของร้อนมาแช่ในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานเพิ่มขึ้นกินไฟมาก

๕๔. ตรวจสอบขอบยางประตูของตู้เย็นไม่ให้เสื่อมสภาพ เพราะจะทำให้ความเย็นรั่ว ออกมาได้ทำให้สิ้นเปลืองไฟมากกว่าที่จำเป็น

๕๕. เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดของครอบครัว อย่าใช้ตู้เย็นใหญ่เกินความจำเป็นเพราะกินไฟเกินไป และควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากฝาผนังบ้าน ๑๕ ซม.

๕๖. ควรละลายน้ำแข็งในตู้เย็นสม่ำเสมอ การปล่อยให้น้ำแข็งจับหนาจนเกินไปจะทำให้เครื่องต้อง ทำงานหนักทำให้กินไฟมาก

๕๗. เลือกซื้อตู้เย็นประตู้เดียว เนื่องจากตู้เย็นสองประตูจะกินไฟ มากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เพราะต้องใช้ท่อน้ำยาความเย็นที่ยาวกว่า และใช้คอมเพรสเซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า

๕๘. ควรตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม การตั้งตัวเลขต่ำเกินไปอุณหภูมิจะเย็นน้อย ถ้าตั้งที่ตัวเลขสูงจะเย็นมาก เพื่อให้ประหยัดไปพลังงานควรตั้งที่เลขต่ำที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม

๕๙. ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะในเวลารีดผ้า เพราะต้องใช้ความร้อนในการรีดมาก เสียพลังงานมากขึ้น เสียค่าไฟมากขึ้นด้วย

๖๐. ดึงปลั๊กออกก่อนรีดผ้าเสร็จ เพราะความร้อนที่เหลือในเตารีดยังสามารถรีดได้ต่อจนกระทั้งเสร็จ ช่วยประหยัดไฟฟ้า

๖๑. เสียบปลั๊กครั้งเดียวต้องรีดให้เสร็จไม่ควรถอดปลั๊ก และเสียบปลั๊กเตารีดบ่อย ๆ เพราะการที่ทำให้เตารีดร้อนแต่ละครั้งกินไฟมาก

๖๒. ลด ละ เลี่ยง การใส่เสื้อสูท เพราะไม่เหมาะกับสภาพอากาศเมืองร้อน สิ้นเปลืองการตัด ซักรีด และความจำเป็นในการเปิดแอร์

๖๓. ซักผ้าด้วยเครื่องควรใส่ผ้าให้เต็มกำลังของเครื่อง เพราะซัก ๑ ตัว กับซัก ๒๐ ตัว ก็ต้องใช้น้ำเท่ากันในการซักแต่ละครั้ง

๖๔. ไม่ควรอบผ้าด้วยเครื่องเมื่อใช้เครื่องซักผ้าอยู่ เพราะเปลืองไฟมาก ควรตากเสื้อผ้ากับแสงแดดหรือแสงธรรมชาติจะดีกว่า ทั้งยังช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า

๖๕. ปิดโทรทัศน์ทันทีเมื่อไม่มีคนดู เพราะการเปิดโทรทัศน์ ทิ้งไว้โดยไม่มีคนดูเป็นการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยใช่เหตุ แถมยังต้องซ่อมเร็วอีกด้วย

๖๖. ไม่ควรปรับจอโทรทัศน์ให้สว่างมากเกินไป และอย่าเปิดเสียงโทรทัศน์ดังเกินความจำเป็น เพราะเปลืองไฟและยังทำให้อายุการใช้งานสั้นลงอีกด้วย

๖๗. อยู่บ้านเดียวกันดูรายการโทรทัศน์รายการเดียวกัน ก็ควรดูเครื่องเดียวกันไม่ชใช่ดูคนละเครื่องคนละห้อง เพราะสิ้นเปลืองพลังงาน

๖๘. เช็ดผมให้แห้งทุกครั้งก่อนเป่าผมทุกครั้ง ใช้เครื่องเป่าผมสำหรับแต่งทรงผม ไม่ควรใช้ทำให้ผมแห้ง เพราะต้องเป่าผมนานเปลืองไฟฟ้า

๖๙. ใช้เตาแก๊สหุงต้มอาหาร ประหยัดกว่าการใช้เตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้า และควรตั้งวาล์วนิรภัย ( SAFETY VALVE ) เพื่อความปลอดภัย

๗๐. เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก ๕ นาที เพราะความร้อนที่เตาจะร้อนต่ออีกอย่างน้อย ๕ นาที เพียงพอที่จะทำให้อาหารสุกได้

๗๑. อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เพราะระบบอุ่นทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้าเกินความจำเป็น

๗๒. กาต้มน้ำไฟฟ้าต้องดึงปลั๊กออกทันทีเมื่อน้ำเดือด อย่าเสียบไฟไว้เมื่อไม่มีคนอยู่ นอกจะไม่ประหยัดแล้วอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้

๗๓. แยกสวิตซ์ไฟออกจากกันให้สามารถ เปิด ปิด ได้เฉพาะจุดไม่ใช่ปุ่มเดียวกัน เปิดปิดทั้งชั้นทำให้เกิดการสิ้นเปลืองและสูญเปล่า

๗๔. หลีกเลียงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องมีการปล่อยความร้อน เช่น กาต้มน้ำ หม้อหุงต้ม ไว้ในห้องที่มีแอร์

๗๕. ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ และหมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอ ยู่เสมอจะทำให้ลดการสิ้นเปลืองไฟได้

๗๖. อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ไว้นานถ้าไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบลดกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องเมื่อพักการทำงาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ ๓๕ - ๔๐ และถ้าหากปิดหน้าจอทันทีเมื่อไม่ใช้งานจะประหยัดไฟร้อยละ ๖๐

๗๗. ดูสัญลักษณ์ ENERGY STAR ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ ซึ่งงจะช่วยประหยัดพลังงานลดการใช้กำลังไฟฟ้า เพราะมีระบบประหยัดไฟฟ้าอัตโนมัติ

วิธีประหยัดน้ำ

๗๘. ใน้ำอย่างประหยัดหมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเพื่อ ลดการสูณเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์

๗๙. ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลาตอนล้างหน้า แปรงฟัน โกนหนวด และถูสบู่ตอนอาบน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์นาทีละหลาย ๆ ลิตร

๘๐. ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือเพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือจะใช้เวลา มากกว่าการใช้สบู่เหลวที่ไม่เข้มข้น

จะใช้น้ำน้อยกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวที่เข้มข้น

๘๑. ซักผ้าด้วยมือ ควรกรองน้ำใส่กะละมังแค่พอใช้ อย่าเปิดน้ำไหลตลอดเวลาซัก เพราะสิ้นเปลืองมากกว่าการซักโดยวิธีการขังน้ำ ไว้ในกะละมัง

๘๒. ใช้ SPRINKLER หรือฝักบัวลดน้ำต้นไม้แทนการฉีดน้ำด้วยสายยาง จะประหยัดน้ำได้มากกว่า

๘๓. ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะที่ล้างรถ เพราะจะใช้น้ำถึง ๔๐๐ ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋อง หรือภาชนะบรรจุน้ำจะลดการใช้น้ำได้มากถึง ๓๐๐ ลิตรต่อการล้าง ๑ ครั้ง

๘๔. ไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะนอกจากจะมีความสิ้นเปลืองน้ำ แล้วยังทำให้เกิดสนิมที่ตัวถังได้ด้วย

๘๕. ตรวจสอบท่อน้ำรั่วภายในบ้าน ด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกตัวภายในบ้ายหลังจากที่ทุกคนเข้านอนจดหมายเลข วัดน้ำไว้ ถ้าตอนเช้ามาตรเคลื่อนที่โดยที่ยังไม่มีใครเปิดน้ำใช้ ก็เรียกช่างมาตรวจซ่อมได้เลย

๘๖. ควรล้างพืชผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะที่มีการกักเก็บน้ำไว้เพียงพอ เพราะการล้างน้ำที่ไหลออกจากก๊อกน้ำโดยตรง จะใช้น้ำมากกว่าการล้างด้วยน้ำที่บรรจุไว้ในภาชนะถึงร้อยละ ๕๐

๘๗. ตรวจสอบชักโครก ว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่ต้องให้ลองหยดสีผสมอาหารลงในถังพักน้ำ แล้วสังเกตดูที่คอห่านหากมีน้ำสีลงมาโดยที่ไม่ได้กดชัก โครกให้รีบจัดการซ่อมได้เลย

๘๘. ไม่ใช้ชักโครกที่เป็นเศษอาหาร กระดาษ สารเคมี เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำจากการกดชักโครกเพื่อไล่สิ่งของลงท่อ

๘๙. ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่น ชักโครก ประหยัดน้ำ ฝักบัวประหยัดน้ำ ก๊อกประหยัดน้ำ หวัฉีดประหยัดน้ำเป็นต้น

๙๐. ติด AREATOR หรืออุปกรณ์เติมอากาศให้แก่น้ำที่ไหลออกจากหัวก๊อก ลดปริมาณการไหลของน้ำช่วยประหยัด

๙๑. ไม่ควรลดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัด เพราะน้ำจะระเหยหมดไปเปล่า ๆ ให้ลดน้ำตอนเช้าที่อากาศยังเย็นอยู่ การระเหยจะต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดน้ำ

๙๒. อย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือในแก้วโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร ใช้ลดน้ำต้นไม้ ใช้ชำระพื้นผิวใช้ชำนะความสะอาดสิ่งต่าง ๆ ได้อีกมาก

๙๓. ควรใช้เหยือกน้ำกับแก้วเปล่าในการบริการน้ำดื่ม และผู้ที่ต้องการดื่มรินน้ำดื่มเอง และควรดื่มให้หมดทุกครั้ง

๙๔. ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้จะประหยัดน้ำได้มากกว่าการล้างจาน ด้วยวิธีการปล่อยน้ำไหลจากก๊อกตลอดเวลา

๙๕. ติดตั้งระบบน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บ และจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงโลกเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไป สูบและจ่ายน้ำภายในอาคาร

วิธีการประหยัดไฟอื่น ๆ

๙๖. อย่าใช้กระดาษหน้าเดียวทิ้ง ให้ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าใช้ทั้งสองหน้าให้นึกเสมอว่ากระดาษ แต่ละแผ่นมีค่าหมายถึงต้นไม้หนึ่งที่ต้องเสียไป

๙๗. ในสำนักงานให้ใช้การส่งเอกสารต่อ ๆ กันแทนการสำเนาเอกสารหลาย ๆ ชุด เพื่อประหยัดพลังงานและกระดาษ

๙๘. ลดการศูนย์เสียกระดาษเพิ่มมากขึ้นด้วยการหลีกเลี่ยง การใช้กระดาษปะหน้าโทรสารชนิดเต็มแผ่น และหันมาใช้กระดาษเล็กที่สามารถตัด พับบนโทรสารได้ง่าย

๙๙. ใช้การส่งผ่านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่าน ระบบคอมพิวเตอร์โดยโมเด็ม หรือแผ่นดิสก์ แทนการส่งข่าวสารข้อมูลเอกสาร ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ลดการใช้พลังงานได้มาก

๑๐๐. หลีกเลียงการใช้จานกระดาษ แก้วน้ำกระดาษ เวลาจัดงานสรรค์ต่าง ๆ เพราะสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต

๑๐๑. รู้จักแยกแยะประเภทของขยะ เพื่อช่วยลดขั้นตอนและลดพลังงานในการทำลายขยะ ทำให้ขยะทั้งหลายง่ายต่อการกำจัด

๑๐๒. หนังสือพิมพ์อ่านเสร็จแล้วอย่าทิ้ง ให้เก็บไว้ขาย หรือพับถุง เก็บไว้ทำอะไรอย่างอื่น ใช้ซ้ำทุกครั้งถ้าทำได้ ช่วยลดการใช้พลังงานในการผลิต

๑๐๓. ขึ้นลงชั้นเดียวหรือสองชั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ลิฟท์ จำไว้เสมอว่าการกดลิฟท์ จำไว้เสมอว่าการกดลิฟท์แต่ละครั้งสูญเสียพลังงานถึง ๗ บาท

๑๐๔. งด เลิก บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานในงานในการผลิต ใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง เพิ่มปริมาณขยะเปลืองพลังงานในการกำจัดขยะ

๑๐๕. ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการทำลาย เช่น โฟม หรือ พลาสติกควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ( REUSE ) หรือนำไปผ่านกระบวนการผลิตมาใช้ใหม่ ( RECYCLE )

๑๐๖. สนับสนุนสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ เป็นวัสดุที่สามารถนำมาผ่านกระบานการนำมาใช้ใหม่ ( CYCLE )

เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก บางประเภท โดยจัดให้มีการแยกขยะในครัวเรือนและในสำนักงาน

๑๐๗. ให้ความร่วมมือสนับสนุน หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่รณรงค์ ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน

๑๐๘. กระตุ้นเตือนให้ผู้อื่นช่วยกันประหยัด โดยการติดสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายให้ช่วยประหยัดไฟตรง บริเวณใกล้สวิทซ์ไฟ เพื่อเตือนให้ปิดเมื่อเลิกใช้แล้ว

คนไทยทุก ๆ คน สามารถช่วยชาติได้ด้วยการประหยัดพลังงาน ซึ่งนอกจาก ๑๐๘ วิธีประหยัดพลังงานแล้วยังมีวิธีอื่น ๆ อีกมากมายที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานที่ประเทศต้องเสียไปอย่างมาก มายมหาศาลในแต่ละปีอย่างไรก็ดี ๑๐๘ วิธีประหยัดพลังงานนี้อาจเป็นจุด เริ่มต้นให้คนไทยรู้จักคุณค่าพลังงานอย่าง ระมัดระวังไม่ให้รั่วไหลสูญเปล่า อีกต่อไปด้วยวิธีการปฏิบัติอย่างง่าย ๆ ทำทันทีและดีที่สุดก็คือการปฏิบัติเคยชิน จนเป็นนิสัยเป็นกิจวัตรสืบไปเพื่อชาติของเรา จะไม่ต้องพบกับคำว่าวิกฤติเศรษฐกิจหรือวิกฤติพลังงานอีกต่อไป

วิธีประหยัดแอร์

9 วิธีประหยัดค่าแอร์โดยไม่ต้องลงทุน

วิธีการประหยัดพลังงาน และเงินในกระเป๋าของเราโดยไม่ต้องลงทุน มีด้วยกัน 9 วิธีง่าย ๆ ที่เราอาจมองข้ามและถ้าเราพร้อมใจกันปฏิบัติ ก็จะสามารถลดภาวะโลกร้อน (Global Warming) และประหยัดพลังงาน ได้อย่างมาก

ตามวิธีดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1 ปิดพัดลมระบายอากาศเมื่อไม่จำเป็น

ในห้องปรับอากาศมักมีการติดตั้งพัดลมระบายอากาศไว้สำหรับระบายอากาศออกจากห้องปรับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่มีกลิ่นหรือควันจากการสูบบุหรี่ เมื่อมีการระบายอากาศออกจากห้อง ก็จะทำให้อากาศภายนอกห้องในปริมาณที่เท่ากันไหลเข้ามาแทนที่อากาศที่ถูกระบายทิ้งออกไป ดังนั้นจึงเป็นเหตุทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อทำให้อากาศร้อนจากภายนอกที่เข้ามาเย็นลงเท่ากับอากาศภายในห้อง ดังนั้นหากเป็นห้องที่ไม่มีคนใช้งานมาก ไม่มีกลิ่นอาหาร ควันบุหรี่ หรือกลิ่นรบกวนใด ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ เพราะโดยปกติจะมีอากาศรั่วซึมผ่านทางกรอบประตูหน้าต่างอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการเพียงพอสำหรับใช้ในการหายใจ

วิธีที่ 2 ตั้งโปรแกรมปิดจอคอมพิวเตอร์ เมื่อไม่ใช้งาน

ในสำนักงานปัจจุบัน จะมีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กันเป็นจำนวนมาก ความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นภาระมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะปล่อยความร้อนออกมาโดยประมาณ 250 วัตต์ ต่อหนึ่งเครื่อง ซึ่งในปริมาณดังกล่าวเป็นความร้อนจากจอมอนิเตอร์ประมาณ 180-200 วัตต์ ดังนั้นเราจึงควรตั้งโปรแกรมปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ เมื่อไม่มีการใช้งาน เพื่อช่วยลดพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียไปโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

สำหรับผู้ใช้ Window 98 การตั้งเวลาสามารถทำได้ ดังนี้

1) เลือก My computer

2) เลือก Control Panel

3) เลือก Power Management

4) ตั้งค่า Power Schemes เป็น Home / Office Desk

วิธีที่ 3 ตั้งอุณหภูมิ 28 °C แล้วเปิดพัดลมเสริม

โดยปกติแล้วอุณหภูมิภายในห้องที่พอเหมาะไม่ร้อนเกินไป หรือ ไม่เย็นเกินไป เราจะตั้งอุณหภูมิประมาณ

25 26 °C แต่ถ้าเราต้องการประหยัดพลังงาน ประหยัดเงิน และยังสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ด้วย เราก็สามารถตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศได้สูงถึง 28 °C แล้วเปิดพัดลมช่วยเสริม แค่นี้ก็จะทำให้ภายในห้องเย็นสบายได้เหมือนเดิม

วิธีที่ 4 นำตู้มาตั้งชิดผนังด้านตะวันออกหรือตะวันตก

ผนังด้านที่มีความร้อนเข้ามามากที่สุด คือ ด้านตะวันออก และ ด้านตะวันตก เพราะทิศที่พระอาทิตย์ขึ้นและตกนั่นเอง เวลาที่แสงอาทิตย์ส่องถูกผนัง จะทำให้ผนังเก็บอุณหภูมิความร้อนไว้ และจะแผ่ความร้อนมาสู่ตัวคน ซึ่งจะทำให้คนเรารู้สึกร้อนขึ้นกว่าเดิม ในสภาพห้องแบบนี้จะมีการตั้งอุณหภูมิไว้ประมาณ 21-22 °C จึงจะทำให้เรารู้สึกเย็นสบาย และทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น ดังนั้นวิธีแก้ก็คือ นำตู้มาตั้งชิดผนัง จะช่วยกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังได้ เราก็จะสามารถตั้งอุณหภูมิที่ 25 °C ได้และเป็นความเย็นที่เพียงพอแล้ว

วิธีที่ 5 ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้ และอย่าเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ในขณะปิดแอร์

ในอาคารทั่ว ๆ ไป ค่าไฟฟ้าที่จ่ายไปกว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าไฟของระบบปรับอากาศ ดังนั้นถ้าไม่ใช้ห้องก็ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศทิ้งไว้ จะสามารถประหยัดพลังงานและเงินในกระเป๋าไปได้มาก และเมื่อขณะที่ปิดแอร์แล้วก็ไม่ควรเปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้ เพราะจะทำให้ความร้อนและความชื้นจากภายนอกเข้าไปในห้องแอร์และสะสมอยู่ที่ พื้นผนัง เฟอร์นิเจอร์ พรม กระดาษ ผ้าม่าน เป็นต้น เมื่อมีการเปิดแอร์ครั้งต่อไปของห้องนั้น แอร์จะทำงานหนักมากขึ้นกว่าเดิม ในการที่จะปรับอุณหภูมิของห้องให้เย็นลง ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าการเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างต่อเนื่องเสียอีก

วิธีที่ 6 ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นออกนอกห้องแอร์

เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่เราใช้อยู่ในห้องแอร์ มันจะปล่อยความร้อนออกมาในขณะที่เราใช้งาน เช่น

- ตู้เย็น - ตู้ทำน้ำเย็น

- เครื่องถ่ายเอกสาร - หม้อต้มน้ำร้อน หรือเครื่องชงกาแฟ

- ตู้ไมโครเวฟ - หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นควรย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าออกนอกห้อง เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานของการทำงานเครื่องปรับอากาศ

วิธีที่ 7 ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและแสงสว่างที่ไม่จำเป็น

ไฟฟ้าและแสงสว่างภายในห้องที่เราใช้อยู่นั้น จะปล่อยความร้อนไว้ในห้องปรับอากาศ เท่ากับพลังงานที่หลอดไฟใช้อยู่ ดังนั้นจึงเป็นภาระสำหรับเครื่องปรับอากาศที่ ต้องกำจัดความร้อนที่อยู่ภายในห้องออกไป ดังนั้นถ้าหลอดไฟดวงใดไม่จำเป็นต่อการใช้งาน อย่าเปิดทิ้งไว้ เพื่อเป็นการประหยัดค่าไฟ และยืดอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย

วิธีที่ 8 สวมเสื้อผ้าบาง ๆ

การสวมเสื้อผ้าบาง ๆ จะช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้สามารถตั้งอุณหภูมิภายในห้องให้สูงขึ้นได้ ดังนั้น จึงควรหันมารณรงค์ให้ผู้ที่มาทำงานไม่ต้องสวมเสื้อสูท หรือ ผ้าเนื้อหนา แต่หันมาใส่เสื้อผ้าบาง ๆ แทน เพื่อความสบายตัวและประหยัดพลังงาน

วิธีที่ 9 ปิดประตูหน้าต่าง และผ้าม่าน ให้สนิท

การปิดประตูหน้าต่าง และผ้าม่าน ให้สนิท จะช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวคนได้อีกทางหนึ่ง และยังทำให้แอร์ไม่ต้องทำงานหนักในการปรับอุณหภูมิ ยังสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ ดังนั้นหากพบเห็นประตูหน้าต่างปิดไม่สนิท หรือมีรอยรั่ว อย่าละเลย ช่วยกันปิดหรือซ่อมแซม เพื่อการประหยัดพลังงานที่มีประสิทธิภาพ

เราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่ทำให้สุขภาพดีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การที่ทราบวิธีการประหยัดพลังงานแล้วแต่ไม่นำไปปฏิบัติก็ย่อมไม่สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้

9 วิธีประหยัดแอร์โดยไม่ต้องลงทุนนี้ มีประโยชน์อย่างแน่นอน และยังเหลือพลังงานให้คนรุ่นหลังได้ใช้ไปอีกนาน ๆ ช่วยลดมลพิษและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า ช่วยลดภาวะโลกร้อน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้ และที่สำคัญที่สุดช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของเรา เมื่อทราบแล้วขอความร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องด้วยนะคะ

กลุ่มพัฒนาระบบงานคลัง

การประหยัดพลังงาน สำนักงานเลขานุการกรมอนามัย

มาตรการ/แนวทางการประหยัดพลังงาน

ของสำนักงานเลขานุการกรมอนามัย

1. เครื่องปรับอากาศ

1.1 ตั้งอุณหภูมิปรับอากาศให้เหมาะสม ที่ 25-26 องศาเซลเซียส ในบริเวณพื้นที่ทำงานทั่วไปและพื้นที่ส่วนกลาง

1.2 ลดชั่วโมงการทำงาน เช่นเปิดเครื่องปรับอากาศช้าลง และปิดเครื่องปรับอากาศเร็วขึ้น โดยหากเปิดเครื่องปรับอากาศในเวลา 9.00 น. แทนเวลา 8.30 น. และปิดเครื่องปรับอากาศเวลา 16.00 น. แทนเวลา 16.30 น. ก็จะสามารถลดการใช้งานเครื่องปรับอากาศได้วันละ 1 ชั่วโมง

1.3 ในกรณีปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงเวลาพักเที่ยง เพื่อป้องกันการทำงานของเครื่องปรับอากาศทำงานพร้อมกันจำนวนมาก ๆ เมื่อกลับเข้าทำงานในเวลา 13.00 น. ให้ใช้วิธีการลดการทำงานของคอมเพรสเซอร์โดยการปรับเทอร์โมสตัทให้อยู่ที่อุณหภูมิสูงสุดเพื่อให้คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน ตัวอย่าง เช่นปรกติตั้งอุณหภูมิปรับอากาศไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส เมื่อพักเที่ยงให้ปรับไปที่อุณหภูมิสูงสุดคือประมาณ 30 องศาเซลเซียส คอมเพรสเซอร์ก็จะหยุดทำงาน โดยอัตโนมัติ และเมื่อกลับเข้าทำงานก็ให้ปรับไปที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสตามปกติ หรือในกรณีเป็นเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ ให้ปรับเทอร์โมสตัท ให้ทำงานที่ Fan Mode เพื่อหยุดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ และเมื่อกลับเข้าทำงานก็ปรับให้ทำงานที่ Cool Mode ตามปกติ

ทั้งนี้การปรับเทอร์โมสตัท ตามคำแนะนำดังกล่าว เครื่องปรับอากาศจะยังคงทำงานในส่วนของพัดลมจ่ายลมเย็น ซึ่งใช้พลังงานไม่มากนัก และจะทำให้ห้องทำงานไม่ร้อนจนเกินไป เมื่อกลับเข้าทำงานและลดภาระในการทำงานหนักของเครื่องปรับอากาศ เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศใหม่ หลังเวลา 13.00 น.

1.4 เปิดเครื่องระบายอากาศเท่าที่จำเป็น

1.5 บำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดย

· ทำความสะอาดแผงกรองอากาศ ที่อยู่ภายในชุดเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร อย่างสม่ำเสมอ ทุก ๆ เดือน ทั้งนี้ การล้างทำความสะอาดแผงกรองอากาศดังกล่าวนอกจากจะทำให้ประหยัดพลังงานแล้ว ยังเป็นการดีต่อสุขภาพอนามัยของผู้ที่อยู่ในสำนักงานอีกด้วย

· ทำความสะอาดชุดระบายความร้อน ที่ติดตั้งภายนอกอาคาร ทุก ๆ 6 เดือน

1.6 ลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ โดยการ

· ป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร โดยการติดกันสาด หรือปลูกต้นไม้เพื่อให้เกิดร่มเงา บริเวณโดยรอบอาคาร

· ย้ายสัมภาระสิ่งของที่ไม่จะเป็นออกจากห้องปรับอากาศ ทั้งนี้ เนื่องจากเครื่องปรับอากาศจะต้องสูญเสียพลังงานในการดูดซับ ความร้อนออกจากสัมภาระสิ่งของดังกล่าว โดยเปล่าประโยชน์

· เปิด - ปิดประตู เข้า ออก ของห้องที่มีการปรับอากาศเท่าที่จำเป็น และระมัดระวังไม่ให้ประตูห้องปรับอากาศเปิดค้างไว้ สำหรับส่วนราชการที่ต้องมีการให้บริการประชาชน และมีการเข้า ออก ของผู้ขอรับบริการอย่างสม่ำเสมอ ควรมีการติดประตูบานสวิง ที่สามารถปิดได้เอง และหมั่นดูแลบำรุงรักษาให้บานสวิงทำงานได้ดีอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการเพิ่มภาระให้กับเครื่องปรับอากาศ โดยไม่จำเป็น

· หลีกเลี่ยงการติดตั้งและใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน ในห้องปรับอากาศ เช่น ตู้เย็น ตู้แช่น้ำเย็น กาต้มน้ำ เตาไมโครเวฟ เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น

2. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

2.1 ปิดไฟฟ้าแสงสว่าง ในเวลาพักเที่ยง

2.2 ถอดหลอดไฟฟ้า ในบริเวณที่มีความสว่างมากเกินความจำเป็น เช่นโถงทางเดิน หรือพิจารณาใช้แสงธรรมชาติจากภายนอก เพื่อลดการใช้หลอดไฟ โดยการเปิดม่าน มู่ลี่บริเวณหน้าต่าง

2.3 เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่นใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ ใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ หรือบัลลาสต์ขดลวดชนิดการสูญเสียต่ำ แทน บัลลาสต์ขดลวดชนิดแกนเหล็กธรรมดา และใช้โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง

2.4 แยกสวิตซ์ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง ที่สามารถเปิด-ปิดได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้งาน แทนการใช้หนึ่ง สวิตซ์ควบคุมหลอดแสงสว่างจำนวนมาก

2.5 บำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยทำความสะอาดฝาครอบโคมไฟฟ้า หลอดไฟ แผ่นสะท้อนแสง เพื่อให้อุปกรณ์แสงสว่างมีความสะอาดและให้แสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอทุก 3-6 เดือน

3. อุปกรณ์สำนักงาน

3.1 เครื่องคอมพิวเตอร์

· ปิดจอภาพในเวลาพักเที่ยง หรือเมื่อไม่มีการใช้งานเกิน 15 นาที

· ตั้งโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์ปิดหน้าจออัตโนมัติ เมื่อไม่มีการใช้งานเกิน 15 นาที (Standby mode)

· ปิดคอมพิวเตอร์ หลังเลิกการใช้งานและถอดปลั๊กออกด้วย

3.2 เครื่องถ่ายเอกสาร

· กดปุ่มพัก (Standby mode) เครื่องถ่ายเอกสาร เมื่อใช้งานเสร็จ และหากเครื่องถ่ายเอกสารมีระบบปิดเครื่องอัตโนมัติ (Auto power off ) ควรตั้งเวลาหน่วง 30 นาที ก่อนเข้าสูระบบประหยัดพลังงาน ทั้งนี้ เครื่องถ่ายเอกสารจะต้องใช้เวลาในการอุ่นเครื่อง 1-2 นาที ก่อนจะเข้าสู่สภาวะทำงานปกติอีกครั้ง ซึ่งหากมีการตั้งเวลาหน่วงสั้นไป เมื่อจะมีการใช้เครื่องอีก จะต้องเสียเวลาอุ่นเครื่องบ่อย

· ควบคุมการถ่ายเอกสารเฉพาะเท่าที่จำเป็น

· ไม่ควรวางเครื่องถ่ายเอกสารไว้ในห้องทำงานปรับอากาศ

· ปิดเครื่องถ่ายเอกสาร หลังเลิกการใช้งานและถอดปลั๊กออกด้วย

3.3 การใช้ลิฟต์

การใช้ลิฟต์ในอาคาร ต้องใช้มอเตอร์ที่มีกำลังฉุดสูง มีกำลังแรงม้ามาก นั่นคือใช้กำลังไฟฟ้ามากทั้งขาขึ้นและลง เมื่อมีการใช้ลิฟต์ บ่อยครั้งการใช้ไฟฟ้าก็จะมากขึ้นด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่มีอาคารสูงจึงมีค่าใช้จ่ายจากการใช้ลิฟต์เพิ่มมากขึ้นด้วย แนวทางปฏิบัติเพื่อการลดใช้พลังงานในการใช้ลิฟต์ มีดังนี้

· กำหนดให้ลิฟต์หยุดเฉพาะชั้น เช่นการหยุดชั้นคู่หรืออาจให้สลับให้มีการหยุดเฉพาะชั้นคี่ เพื่อช่วยลดการใช้พลังงานในการเดินทางและหยุดบ่อยครั้งของลิฟต์ และยังช่วยลดการสึกหรอ การซ่อมบำรุงรักษาและอายุการใช้งานได้ด้วย

· ปิดลิฟต์บางตัวในช่วงที่มีการใช้งานน้อย

· ตั้งเวลาให้ประตูลิฟต์ ปิดเองในช่วงเวลาอย่างน้อย 10 วินาที จะช่วยลดความจำเป็นในการใช้พลังงานไฟฟ้าของการขับเคลื่อนมอเตอร์ เปิด-ปิด ประตู และช่วยยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์ เปิด-ปิด ประตูลิฟต์ได้ด้วย

· ส่งเสริม รณรงค์กิจกรรม ให้มีการเดินขึ้น-ลง แทนการใช้ลิฟต์

· แสดงผัง รายละเอียดชั้นที่ตั้งของหน่วยงานในอาคาร พร้อมเลขชั้นที่ชัดเจน สามารถมองเห็นได้ง่าย เช่นหน้าประตูก่อนเข้าลิฟต์ และภายในลิฟต์ จะช่วยลดการเดินทางหลงชั้นและลดการใช้ลิฟต์ที่ไม่จำเป็น

4. การใช้น้ำ

การผลิตและการใช้น้ำประปาจะมีการใช้พลังงานอยู่ทุกขั้นตอน ดังนั้นการใช้น้ำอย่างประหยัด จะเป็นการลดการใช้พลังงานด้วยอีกทางหนึ่ง

4.1 สำรวจตรวจสอบและทำการเปลี่ยนหรือซ่อมแซม ปั้มน้ำ ระบบการจ่ายน้ำ เช่นท่อประปา วาวล์ ก๊อกน้ำ ระบบสุขภัณฑ์ เช่นหัวฉีดชำระ ขอบยางและลูกลอยชักโครก ที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพและปล่อยให้มีการรั่วไหลของน้ำ เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง

4.2 ติดตามปริมาณการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจหาการรั่วไหล

4.3 เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ หรือชนิดมีประสิทธิภาพสูง เช่นก๊อกน้ำประหยัดน้ำ ชักโครกประหยัดน้ำ หัวฉีดชำระประหยัดน้ำ แทนอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ เมื่อเสื่อมสภาพหมดอายุการใช้งาน

4.4 หมั่นตรวจสอบ ซ่อมแซมรอยรั่วต่างของอุปกรณ์ทั้งหมด อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกอาคาร หากพบจุดที่มีการรั่วไหลให้ลงมือซ่อมแซมหรือแจ้งซ่อมทันที เพื่อลดการสูญเสียของน้ำ

5. การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

5.1 ควรปรับวิธีการขับขี่รถยนต์ให้ถูกต้อง และขับรถที่ความเร็วที่พอเหมาะ ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป ควรขับด้วยความเร็วที่ไม่เกินกฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้นอกจากประหยัดพลังงานแล้ว ยังปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ความเร็วที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ

· ทางธรรมดา ความเร็วไม่เกิน 90 กม.ต่อชั่วโมง

· ทางด่วน ความเร็วไม่เกิน 110 กม.ต่อชั่วโมง

· มอเตอร์เวย์ ความเร็วไม่เกิน 120 กม.ต่อชั่วโมง

การขับขี่ที่ความเร็ว 110 กม.ต่อชั่วโมง จะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงขึ้นอีกประมาณ ร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับความเร็ว 80 กม.ต่อชั่วโมง และจะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงขึ้นอีกประมาณ ร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับความเร็ว 90 กม.ต่อชั่วโมง

การติดเครื่องจอดเฉย ๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะทุก ๆ 5 นาทีที่ติดเครื่องยนต์รอ จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันถึง 500 ซีซี.

การบรรทุกหรือเก็บสัมภาระสิ่งของที่ไม่จำเป็นมาก ๆ ไว้ในรถ ก็จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันโดยไม่จำเป็น เช่นหากเก็บของที่ไม่จำเป็นน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ไว้ท้ายรถ ทุก ๆ 25 กิโลเมตรที่ขับขี่ จะสิ้นเปลืองน้ำมันโดยไม่ได้ประโยชน์ถึง 40 ซีซี.

5.2 หมั่นบำรุงรักษาให้ระบบต่างของรถยนต์ และเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

การหมั่นดูแลบำรุงรักษาระบบต่างของรถยนต์ และเครื่องยนต์ให้มี ประสิทธิภาพอยู่เสมอ นอกจากจะทำให้ประหยัดน้ำมันแล้ว ยังทำให้เกิดความปลอดภัยในยามขับขี่และทำให้ลดค่าซ่อมแซม รถยนต์เนื่องจากความความสึกหรอก่อนเวลาอันควร ดังนั้น จึงควรหมั่นตรวจสอบระบบต่างของรถยนต์และเครื่องยนต์ ดังนี้

· ตรวจเช็คเครื่องยนต์ตามระยะเวลาหรือระยะทางที่กำหนด ทั้งนี้การปรับปรุงสมรรถนะของเครื่องยนต์ ให้มีการเผาไหม้อย่างสมบรูณ์ จะช่วยให้ประหยัดน้ำมันได้ประมาณ ร้อยละ 3 - 9

· เปลี่ยนไส้กรองตามระยะเวลาที่กำหนด และควรหมั่นใช้ลมเป่าทำความสะอาดไส้กรองเพื่อขจัดฝุ่นที่อุดตัน หากไส้กรองสะอาด จะช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมันได้ประมาณ วันละ 65 ซีซี. และควรทำความสะอาดไส้กรองทุก 2,500 กิโลเมตร และควรเปลี่ยนทุก 20,000 กิโลเมตร

· หมั่นตรวจสอบความดันลมยาง ไม่ควรให้ลมยางอ่อนเกินไปจาก มาตรฐานที่กำหนดของรถยนต์ หากปล่อยให้

ลมยางอ่อนกว่ามาตรฐาน 1 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หากวิ่งวันละ 100 กิโลเมตร ในหนึ่งเดือนจะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น ประมาณ 5 ลิตร

· ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง และน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับที่กำหนด รวมถึงระดับน้ำในหม้อน้ำ สำหรับน้ำมันเครื่อง ควรเปลี่ยนถ่ายตามระยะเวลาที่กำหนด

5.3 การเดินทางไปราชการ หรือการใช้รถราชการในการปฏิบัติงานต่างๆ ใช้ระบบทางเดียวกันไปด้วยกัน

การทำงานของแอร์

การทำงานของแอร์
           ของเหลวที่ใช้อยู่ในแอร์ บางทีเรียกว่า น้ำยานั้น ส่วนมากเป็น Freon-22 
ส่วน Freon-12 มักถูกใช้ ในตู้เย็น Freon เป็นของเหลวที่สามารถระเหยได้ดีมาก 
แอร์ทำงานตามหลักการง่ายๆ โดยประกอบด้วยส่วนประกอบดังนี้ 
Compressor 
       มีหน้าที่นำก๊าซ Freon ที่เย็นมาเพิ่มแรงดันและความร้อนCondenser หรือ คอยล์ร้อน 
ก็าซ Freon ที่ร้อนถูกส่งมายัง Condenser เพื่อทำให้เย็นและกลายเป็นของเหลว
Liquid Line
       ของเหลวที่เย็นนี้จะถูกส่งผ่าน Liquid Line ไปยัง Expansion Valve
Expansion Valve และ Evaporator (คอยล์เย็น)
Expansion Valve จะปล่อยให้ Freon เหลวไปยังคอยล์เย็น ซึ่งจะได้รับความร้อนสภาพแวดล้อมกลายกลับ ไปเป็นก๊าซ Freon Expansion Valve ใช้หลักการที่ว่า เมื่อให้น้ำย้ำองรูแคบๆ หรือท่อยาวๆ ที่มีแรงเสียดทานสูง จะทำ ให้ความดันของน้ำยาลดลง 
Cold Vapour Line
     ก๊าซ Freon จะถูกกลับไปยัง Compressor ผ่าน Cold Vapour line 
ชนิดของแอร์ 
       แอร์สามารถแบ่งตามการใช้งานได้เป็น 
Window Air Conditionersเป็นแบบติดหน้าต่าง ซึ่งตามอาคารที่พักอาศัย โดยจะติดแยกให้แต่ละห้อง ไม่จำเป็นต้องมีท่อหรือเดินสาย มีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ แต่ก็เพียงพอสำหรับพื้นที่ห้องที่ไม่ใหญ่มาก ข้อดีของระบบนี้ คือ ใช้พื้นที่น้อย แต่ข้อเสีย คือ มีเสียงดัง 
Split Air Conditioning Systemในระบบนี้จะแยกออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่อยู่ภายในอาคและภายนอกอาคาร ซึ่งจะเชื่อมต่อกันโดยท่อ ส่วนภายในจะประกอบด้วย Expansion Valve และคอยล์เย็น ลมจะถูกพัดผ่านคอยล์โดยพัดลม ในขณะเดียวกันอากาศ ร้อนจากภายในจะถูกนำออกจากห้อง ส่วนภายนอกจะประกอบด้วย คอยล์ร้อนซึ่งมีลักษณะเป็นขดลวดยาว และ Compressor ข้อดีของ Split Type ระบบนี้ คือ มีราคาต่ำ มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และ มีเสียงรบกวนน้อย ข้อเสียคือ จะมีการสูญเสียพลังงานในระหว่างการส่งต่อระหว่างส่วนภายในและภายนอก 

บรรณานุกรม http://home.kku.ac.th/bchumn/integrate/aircondition.html

COLD22 ตรวจเช็ค 5 เดือนให้หลัง

ตรวจเช็คหลังจากเปลี่ยนน้ำยา COLD22ไป 5 เดือน

วันนี้มีลูกค้าที่เคยเปลี่ยนน้ำยาแอร์ประหยัดไฟ COLD22 ไปประมาณ 5 -6 เดือน เรียกทีมช่าง เข้าไปล้างแอร์ ผมเลยถือโอการศ ตรวจเช็คแอร์และการกินไฟมาให้ดูกันด้วย ว่าหลังจากใช้น้ำยาประหยัดไฟ ไปแล้ว5-6 เดือน มีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรือเปล่า
ไปดูกันครับ


ตัวนี้เป็นแอร์ มิตซู มิตเตอร์สลิม 12500 บีทียู เดิมก่อนเปลี่ยนน้ำยาแอร์ประหยัดไฟ กินไฟอยู่ 5.3 แอมป์ หลังจากเปลี่ยนน้ำยาไปเมื่อ
5-6 เดือนก่อน กินไฟอยู่ 3 แอมป์กว่าๆ มาดูว่าเมื่อใช้ไปสักพักแล้วยังคงกินไฟน้อยเหมือนเดิมหรือเปล่า ไปดูเลยครับ



ยังคงกินไฟน้อยเหมือนตอนที่เปลี่ยนน้ำยาแอร์ใหม่ๆเลยครับ ไปดูน้ำยาแอร์กันบ้างครับ ว่ายังอยู่เท่าเดิมหรือเปล่า



น้ำยาแอร์ยังเท่าเดิมครับ 70 ปอนด์ ก็เอามาให้ดูกันครับ ว่าใช้น้ำยาประหยัดไฟแล้ว ไม่มีผลกระทบใดๆกับตัวเครื่อง เสียค่าเปลี่ยนน้ำยา
ครั้งแรกเพียงครั้งเดียวประหยัดไฟไปตลอด คุ้มค่าน่าใช้จริงๆครับ

ที่มา www.coolmansale.com

ทดสอบ Cold22

ทดสอบการเปลี่ยนน้ำยาแอร์ประหยัดไฟCold22 กับแอร์มิตซูบิชิ 13000 บีทียู
ตอบ

วันนี้ทีมช่างได้เปลี่ยนน้ำยาแอร์ประหยัดไฟให้ลูกค้าครับ เป็นแอร์ มิตซู 13000 บีทียู


วัดการกินไฟก่อนเปลี่ยนน้ำยาประหยัดไฟ ได้ 4.6 ถือว่ากินไฟน้อยอยู่แล้ว เพราะจริงๆแล้วแอร์ ขนาด 13000 บีทียู จะกินไฟอยู่ที่ 5.1-5.3 แอมป์ ครับ แต่ลูกค้าอยากให้ประหยัดลงอีก



แต่เนื่องจากแอร์สกปรกมากต้องล้างด้วยครับ




ข้างในก็ล้างไป ส่วนข้างนอกก็เริ่มเปลี่ยนน้ำยาไป



กำลังเติมน้ำยาครับ



เรียบร้อยครับ เดินเครื่องเลย


วัดการกินไฟให้ดูกันจะจะเลยครับ เหลือ 3.6 แอมป์ เท่ากับแอร์ 9000 บีทียูเลย ทั้งที่มันคือแอร์ 13000 บีทียู

ตอบ

วันนี้ทีมช่างได้เปลี่ยนน้ำยาแอร์ประหยัดไฟให้ลูกค้าครับ เป็นแอร์ มิตซู 13000 บีทียู


วัดการกินไฟก่อนเปลี่ยนน้ำยาประหยัดไฟ ได้ 4.6 ถือว่ากินไฟน้อยอยู่แล้ว เพราะจริงๆแล้วแอร์ ขนาด 13000 บีทียู จะกินไฟอยู่ที่ 5.1-5.3 แอมป์ ครับ แต่ลูกค้าอยากให้ประหยัดลงอีก



แต่เนื่องจากแอร์สกปรกมากต้องล้างด้วยครับ




ข้างในก็ล้างไป ส่วนข้างนอกก็เริ่มเปลี่ยนน้ำยาไป



กำลังเติมน้ำยาครับ



เรียบร้อยครับ เดินเครื่องเลย


วัดการกินไฟให้ดูกันจะจะเลยครับ เหลือ 3.6 แอมป์ เท่ากับแอร์ 9000 บีทียูเลย ทั้งที่มันคือแอร์ 13000 บีทียู



ที่มา www.coolmansale.com

Cold22 มีอันตรายหรือติดไฟหรือไม่

การใช้สารทำความเย็นCold22ในเครื่องปรับอากาศมีอันตรายหรือติดไฟหรือไม่

ตอบ

cold 22 เป็นน้ำยาที่ทางยุโรป ญี่ปุ่นใช้มากว่า 10 ปีแล้ว ทางเยอรมันก็ใช้เยอะ ในด้านความปลอดภัยมันผ่านมาตรฐาน ยุโรป เยอร์มัน และญี่ปุ่น น้ำยาตัวนี้ ติดไฟเพราะส่วนประกอปสำคัญคือ propane ที่อยู่ในแก๊สหุงต้มตามบ้านนั่น แหละ มันไม่ได้อันตรายมากไปกว่าเตาแก๊สในครัวหรอกครับ ตอนอยู่ใน ครัวน่ะติดไฟด้วย ก็ใช้กันทุกบ้าน พออยู่ในแอร์มันไม่มีไฟเหมือนอย่างในครัว จึงมีความปลอดภัยสูงกว่าเยอะ

ปัญหาคือช่างแอร์บ้านเรา ไม่รู้จักน้ำยาตัวนี้กันนัก และมักฟังเพื่อนๆบอกต่อ กันว่ามันติดไฟ เลยบอกต่อลูกค้าไปตามนั้นโดยไม่รู้จักหาข้อมูลเพิ่มเติม

น้ำยาตัวนี้เติมทดแทนน้ำยา cold22 ในแอร์ได้เลยโดยไม่ทำให้ระบบภายในมี ปัญหา ข้อดีของมันคือ ใช้น้ำยาน้อยลง เย็นกว่าน้ำยาตัวเดิม แอร์จะประหยัด ไฟกว่าเดิม เนื่องจากน้ำยาตัวนี้มันอัดให้เปลี่ยนสถานะได้ง่ายกว่าเดิม คอมเพรสเซอร์เลยกินแรงน้อยลง ประหยัดไฟประมาณ 10-25% เมื่อเทียบกับ น้ำยา R22 แบบเดิม ทดสอบโดย เทคโนลาดกระบัง มีใบรับรองด้วย

Cold22 หรือ R290 ชื่อที่เรารู้จักกันคือ propane โพรเพนเป็นก๊าซติดไฟ ที่อยู่ในแก๊สหุงต้มที่ใช้กันอยู่ทุกบ้านนั่นแหละครับ ไอ้ตัวนี้ติด เลยทำให้น้ำยา พวกนี้ติดไฟด้วย มันมีน้ำหนักมากกว่าอากาศ ถ้ารั่วจะลอยตัวต่ำอยู่ติดพื้น เหมือนแก๊สหุงต้มรั่ว แต่ว่ามันได้รับอนุญาตให้ใช้ในอุปกรณ์ทำความเย็น ภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น หรือ แอร์ได้ เนื่องจากปริมาณแก๊สที่ใช้นั้นน้อยมาก จน ถ้ารั่วออกมาก็มีอันตรายต่ำ ในตู้เย็นที่ใช้ R290(โพรเพน)ล้วนๆในเยอรมัน ส่วนใหญ่ จะเติมสารทำความเย็นแค่ 25-40 กรัมเท่านั้น มากกว่าแก๊สที่อยู่ในไฟ แช็คจุดบุหรี่อันละ 10-15 บาทอยู่หน่อยหนึ่ง ไฟแช็คแก๊สนั้นยังน่ากลัวกว่าการ ใช้สารทำความเย็นในรถยนตร์ หรือตู้เย็นด้วยซ้ำ ถ้าสารทำความเย็นมันรั่ว ความที่หนักกว่าอากาศ มันจะรวมตัวกันเป็นหมอกลอยอยู่ต่ำติดพื้นที่ความสูง ไม่เกิน 6 นิ้วจากพื้น ถ้าอยู่ในที่โปร่ง อากาศถ่ายเท แก๊สที่รั่วจะถูกลมพัดพาไป จนหมด สำหรับกรณีรถยนตร์ก็ใช้ในปริมาณน้อย ใช้ R134a อยู่ 700 กรัม จะ ใช้ COLD134 แค่ 350 กรัม ด้วยปริมาณแค่นี้ ถือว่าน้อยมาก จึงไม่น่าเป็น ห่วง รถ taxi ที่ติดแก๊ส LPG ซึ่งก็คือโพรเพน หรือ R290 นั้นใช้ถังแก๊ส ขนาด 55 ลิตรหรือประมาณ 30 กิโลกรัมวิ่งกันเต็มกรุงเทพนั้นก็มีประวัติความ ปลอดภัยที่ดี ส่วนแอร์บ้าน 13,000 BTU นั้นใช้น้ำยา R22 ประมาณ 1.2 กิโลกรัม จะใช้น้ำยา COLD22 ประมาณ 600 กรัม

ในกรณีเลวร้ายที่สุดที่ COLD 134 รั่วในห้องโดยสารรถยนตร์ แบบชนิดที่ ท่อแอร์แตกทันที ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นในการใช้งานปกติ และแก๊ส ทั้งหมด 300-400 กรัมกระจายออกมา สิ่งที่เกิดคือเราจะมองเห็นเป็นกลุ่มควันสี ขาวออกมาจากคอนดซลหน้ารถ แก๊สนี้ไม่มีกลิ่น และถ้าเปิดกระจกอยู่ หรือ เปิดกระจกหรือเปิดประตูทันทีที่เห็นกลุ่มควันสีขาวนี้ แก๊สจะกระจายออกไป จนหมด และไม่มีอัตรายใดๆเกิดขึ้น ส่วนความเสี่ยงที่จะเกิดระเบิด ในกรณีที่ แก๊สรั่ว พบว่าน้อยมากๆจนแทบจะเป็น 0 แหล่งเกิดประกายไฟเพียงชนิดเดียว ที่จะทำให้แก๊สที่รั่วออกมาติดไฟได้คือการจุดไฟแช็คโดยทำให้เกิดประกายไฟ ในขณะที่แก๊สรั่วออกมาปริมาณมากๆในคราวเดียว ซึ่งในภาวะปกติ เราก็ไม่จุด บุหรี่กันตอนนั้นอยู่แล้ว แต่ถ้าคนที่เปิดหน้าต่างสูบบุหรี่ในขณะขับรถแล้ว โอกาสจะระเบิดเป็น 0 เพราะแก๊สจะรั่วออกไปหมด

ในกรณีปกติที่แอร์รั่วกันนั้น จะเป็นการซึมอย่างช้าๆ ใช้เวลาหลายวันกว่าน้ำยาจะรั่วออกหมด ถ้ารั่วในห้องเครื่องมันจะกระจายไปในอากาศจนหมด ไม่ติด ไฟ (จริงๆแล้วรถใช้แก๊สหลายคันยังมีแก๊สรั่วมากกว่านี้ด้วยซ้ำ ) ถ้ารั่วซึมใน ห้องโดยสารอย่างช้าๆ มันจะลอยอยู่ต่ำ ในปริมาณที่ไม่มากนัก ถ้าความเข้มข้น ไม่มากพอ และไม่มีใครไปจุดไฟแช็คในรถ ยังไงก็ไม่ติดไฟ ยิ่งถ้าเปิดกระจก ขับนี่หมดทางติดไฟเลย ถ้าความเข้มข้นมากพอ แต่ไม่จุดไฟในรถ ก็ไม่ติดไฟ อีกนั่นแหละ ถ้าถามถึงมอเตอร์ไฟฟ้าที่อยู่ในรถ หรือสวิตส์ไฟเบรกที่แป้น เบรค หรือสวิสต์ไฟในห้องโดยสารที่เพดานรถ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ในห้องโดยสาร พวกนี้ไม่สามารถทำให้เกิดการติดไฟได้
ข้อดี ของการใช้ R290 และ R600a ที่มีประโยชน์มากกว่าข้อเสีย มีการพูดถึง ด้านความปลอดภัยและนำไปใช้งานในหลายๆประเทศ ในเยอรมันและ ออสเตรเลียก็นำไปใช้เยอะแล้ว ตู้เย็นในเยอรมันรุ่นใหม่ก็ใช้ R290 อัดเข้าไป ประมาณ 25-40 กรัมก็สามารถทำความเย็นได้ดีกว่าการใช้ R134 แถมยัง ประหยัดพลังงานกว่าเดิม 16%

แนวโน้มในอนาคตสารทำความเย็นแบบ COLD134 , COLD22, COLD12 จะค่อยๆเข้ามาแทนที่อย่างช้าๆครับ ในเยอรมัน กับออสเตรเลียเริ่ม ใช้มาตั้งแต่ 1994 แล้ว เรื่องติดไฟนี้เป็นประเด็นที่ผู้ผลิตน้ำยา R134, HCFC134 กับช่างแอร์มักจะเอามาโจมตีเป็นประจำ แต่เมื่อเทียบกับผลดีที่ได้แล้ว ส่วนใหญ่ผู้ใช้ที่ได้รัข้อมูลอย่างครบถ้วนในทุกด้านมักจะเปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็นตระกูล HC หรือไฮโดรคาร์บอน ซึ่งก็คือ R290, R600a กันหมด

สำหรับการใช้ cold22 กับแอร์บ้านยิ่งไม่น่าห่วงครับ เพราะถ้ารั่วจริงซึ่งมักจะ รั่วนอกบ้าน มันจะระเหยไปกับอากาศภายนอกจนหมด โอกาสติดไฟพูดได้ว่า เป็น 0 เหมือนกัน เพราะตำแหน่งติดคอมเพรสเซอร์ตัวนอกจะอยู่ในที่อากาศ ถ่ายเทได้ดีอยู่แล้ว



ที่มา www.coolmansale.com