วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วิธีประหยัดพลังงาน 108 วิธี

๑๐๘ วิธี ประหยัดพลังงาน .

Save energy project

ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังอยู่ในขั้นวิกฤติ เป็นหนี้อยู่ประมาณ สองล้าน ล้านบาท ท่ามกลางสภาวการณ์ที่เลวร้ายนี้ ประชาชนไทยทั้งหลาย ต่างก็มีความห่วงใยในประเทศชาติ มีความรักชาติที่เข้มข้น และทุกคนที่จะช่วยประเทศชาติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสามัคคี ที่จะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ เพราะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าในยามที่ คับขันนี้คนไทยพร้อมใจที่จะช่วยประเทศชาติ บ้างก็สละเงิน ทอง และทรัพย์สินส่วนตัว นั่นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังมีวิธีที่ทุกคน สามารถที่จะช่วยชาติได้ คือการลดการใช้พลังงานอย่างฉับพลันทันที ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้น้ำ น้ำมัน หรือไฟฟ้า พลังงานที่เราใช้มากมายในขณะนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิ์ภาพ ใช้มากเกินความจำเป็น ขาดความเอาใจใส่ ไม่คิดก่อนใช้ ทำให้เกิดการรั่วไหล สูญเปล่าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากเรารอบครอบกันสักนิดก็จะช่วย ประอหยัดพลังงานได้อีกไม่น้อยเลยทีเดียว ๑๐๘ วิธีประหยัดพลังงานที่ได้อ่าน ในวารสารฉบับนี้ จะใช้เป็นจุดเริ่มต้นของคนไทยได้เข้าใจถึง การใช้พลังงานอย่างถูกต้อง ไม่เกิดการสูญเสีย ไม่ใช้มากเกินความจำเป็น การลดการใช้พลังงานพวกเราทุกคน ย่อมหมายถึงการมีส่วนได้ช่วยชาติ โดยที่เราไม่ต้องออกแรง หรือทรัพย์สินเงินทองอื่นใด เพรียงความใส่ใจและความตั้งใจและความตั้งใจจริงที่จะลด การใช้พลังงานส่วนเกินใกล้หมดไปเท่านั้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติขอมอบ ๑๐๘ วิธีการประหยัดพลังงานที่คนไทยทุกคนสามารถ ที่จะนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำ ได้โดยไม่ยากลำบากอะไร ไว้เป็นแนวทางเพื่อให้ทุกคนนำไปปฏิบัติให้เป็นนิสัยตลอดไป โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ แล้วทำต่อ ๆ ไป ทุก ๆ วัน และแนะนำให้คนอื่นได้ร่วมประหยัดพลังงานด้วย

วิธีประหยัดน้ำมัน

๑. ตรวจสอบลมยางเป็นประจำ เพราะยางที่อ่อนเกินไปนั้น ทำให้สินเปลืองน้ำมันมากกว่า ยางที่มีปริมาณลมยางตามที่มาตรฐานกำหนด

๒. สับเปลี่ยนยาง ตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนด จะช่วยประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกมาก

๓. ดับเครื่องรถยนต์ทุกครั้งที่จะจอดรถนาน ๆ แค่จอดรถติดเครื่องไว้ ๑๐ นาที ก็เสียน้ำมันฟรี ๆ ๒๐๐ ซีซี

๔. ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่ขึ้นของ ลงของ หรือคอยคน เพราะการติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้เปลืองน้ำมันและสร้างมลพิษอีกด้วย

๕. ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด การออกรถกระชาก ๑๐ ครั้ง สูญเสียน้ำมันไปเปล่า ๆ ถึง ๑๐๐ ซีซี น้ำมันจำนวนนี้รถนี้สามารถวิ่งได้ไกล ๗๐๐ เมตร

๖. ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่าง อย่างที่เราเรียกว่าเบิ้ลเครื่อง การกระทำดังกล่าว ๑๐ ครั้ง สูญเสียน้ำมันถึง ๕๐ ซีซี ปริมาณน้ำมันขนาดนี้รถวิ่งไปได้ไกล ๓๕๐ เมตร

๗. ตรวจเครื่องตามกำหนด ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ เช่นทำความสะอาดระบบไฟจุดระเบิดตั้งไฟแก่อ่อนให้พอด ีจะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง ๑๐ %

๘. ไม่ต้องอุ่นเครื่อง หากออกรถและขับช้า ๆ สัก ๑ - ๒ กม. แรก เครื่องยนต์ก็จะอุ่นเองไม่ต้องเปลืองน้ำมันไปกับการอุ่นเครื่อง

๙. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เพราะเครื่องยนต์จะทำงานหนักที่เพิ่มขึ้น หากบรรทุกหนักมาก จะทำให้เปลืองน้ำมันและสึกหรอสูงขึ้น

๑๐. ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน หรือคาร์พูล ไปไหนมาไหนที่หมายเดียวกัน ทางผ่านหรือใกล้เคียงกันควรใช้รถคันเดียวกัน

๑๑. เดินทางเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อประหยัดน้ำมันบ้างครั้งบ้างเรื่องอาจจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ ก็จะได้ประหยัดน้ำมันประหยัดเวลา

๑๒. ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ ๆ ที่ทำงาน อาจจะเดินหรือใช้จักรยานบ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ทุกครั้ง เป็นการออกกำลังกายและประหยัดน้ำมันด้วย

๑๓. ก่อนไปพบใครควรโทรศัพท์ไปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้ไม่เสียเที่ยว ไม่เสียเวลาและน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์

๑๔. สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดีจะได้ไม่หลง ไม่เสียเวลาเปลืองน้ำมันใน การหา

๑๕. ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เนต หรือใช้บริการส่งแบบเอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดน้ำมัน

๑๖. ไม่ควรเดินทางโดยไม่ว่างแผน การเดินทาง ควรกำหนดเส้นทาง และช่วงเวลาการเดินทางที่เหมาะสมเพื่อประหยัดน้ำมัน

๑๗. หมั่นศึกษาเส้นทางลัด ช่วยให้ไม่ต้องเดินทางยาวนาน ไม่ต้องเจอปัญหาจราจร ช่วยการประหยัดทั้งเวลาและประหยัดน้ำมัน

๑๘. ควรขับรถด้วยความเร็วคงที่ เลือกขับที่ความเร็วที่ ๗๐ - ๘๐ กม. / ชม. ที่ ๒,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ รอบเครื่องยนต์ ความเร็วระดับนี้ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า

๑๙. ไม่ควรลากเกียร์ เพราะการลากเกียร์ต่ำนาน ๆ จะทำให้เครื่องยนต์หมุนรอบสูงกินน้ำมันมาก และเครื่องยนต์ร้อนจัดสึกหรอง่าย

๒๐. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนัก เช่น การทำให้เกิดการต้านลมขณะวิ่ง หรือทำให้เกิดการถ่ายเทไม่สะดวกไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี

๒๑. ไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินที่มีค่าอ๊อกเทนสูงเกินความ จำเป็นของเครื่องยนต์ เพราะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์

๒๒. หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศ ตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อความเหมาะสมและการประหยัดน้ำมัน

๒๓. สำหรับเครื่องยนต์ เบนซิน ควรที่เลือกเติมน้ำมันให้ถูกชนิดถูกประเภท โดยเลือกตามค่าอ๊อกเทนที่เหมาะสมกับรถแต่ละยี่ห้อ ( สังเกตจากฝาปิดน้ำมันใกล้บ้าน )

๒๔. ไม่จำเป็นต้องใช้แอร์ตลอดเวลา ยามเช้า ๆ เปิดกระจกรับความเย็นจากลมธรรมชาติบ้างก็สดชื่นดี ประหยัดน้ำมันได้

๒๕. ไม่ควรเร่งแอร์ในรถอย่างเต็มที่จนเกินความจำเป็น ไม่เปิดแอร์แรง ๆ จนรู้สึกหนาวจนเกินไป เพราะสิ้นเปลืองพลังงาน

วิธีการประหยัดไฟฟ้า

๒๖. ปิดสวิตซ์ไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน สร้างให้เป็นนิสัยในการดับไฟฟ้าทุกครั้งที่ออกจากห้อง

๒๗. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานดูฉลากแสดง ประสิทธิ์ภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ ๕ ต้องเลือกใช้เบอร์ ๕

๒๘. ปิดแอร์ทุกครั้งเมื่อไม่เกิน ๑ ชม. สำหรับแอร์ทั่วไปและ ๓๐ นาที สำหรับแอร์เบอร์ ๕

๒๙. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของแอร์บ่อย ๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของแอร์

๓๐. ตั้งอุณหภูมิปรับอากาศที่ ๒๕ องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กำลังเย็นสบายอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ๑ องศาต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ - ๑๐ องศา

๓๑. ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจาก ห้องที่ติดตั้งแอร์ ตรวจสอบและรอยรั่วตามผนังฝาเพดานประตู้ช่องแสง และปิดประตู้ห้องทุกครั้งที่เปิดแอร์

๓๒. ลดการหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุใดที่ไม่ จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีแอร์ เพื่อลดการสูญเสียและใช้พลังงานในการปรับอากาศภายในอาคาร

๓๓. ติดตั้งฉนวนกันความร้อน โดยรอบห้องที่มีอากาศ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้ามาภายในอาคาร

๓๔. ใช้มู่ลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคารและฝาผนัง เพื่อไม่ให้แอร์ทำงานหนักเกินไป

๓๕. หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้า สู่ห้องปรับอากาศ ติดตั้งและใช้อุปกรณ์ควบคุมการ เปิด - ปิด ประตูภายในห้องที่มีแอร์

๓๖. ควรปลูกต้นไม้รอบ ๆ อาคาร เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ ๑ ต้น ให้ความเย็นเท่ากับแอร์ ๑ ตัน หรือให้ความเย็นประมาณ ๑๒,๐๐๐ BTU

๓๗. ควรปลูกต้นไม้เพื่อบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคาเพื่อแอร ์จะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป

๓๘. ปลูกพืชคุมดินเพื่อควบคุมความร้อยเพิ่มความชื้นให้กับดิน จะทำให้บ้านเย็นไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์เย็นจนเกินไป

๓๙. ในสำนักงานให้ปิดไฟปิดแอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นในช่วงเวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้

๔๐. ไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ก่อนเวลาเริ่มทำงาน และควรปิดแอร์ก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย เพื่อประหยัดไฟฟ้า

๔๑. เลือกซื้อพัดลมที่ไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง เพราะพัดลมที่ไม่ได้คุณภาพมักเสียง่ายทำให้สิ้นเปลือง

๔๒. หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนแอร์จะช่วยประหยัดไฟ ประหยัดเงินได้มากทีเดียว

๔๓. ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอ้วน ใช้หลอดตะเกียบแทนหลอดไส้ หรือใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์

๔๔. ควรใช้หลอดประหยัดไฟหรือบัลลาสต์อิเลคโทรนิค คู่กับหลอดผอมจอมประหยัด จะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการประหยัดไฟฟ้าได้อีก

๔๕. ควรใช้โฟมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่าง ๆ เพื่อช่วยแสงสว่างจากหลอดไฟกระจายได้อย่างเต็มประสิทธิ์ภาพ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้หลอดไฟฟ้าที่มีวัตต์สูงช่วยประหยัดพลังงาน

๔๖. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้านเพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ควรทำอย่างน้อย ๔ปี ต่อครั้ง

๔๗. ใช้หลอดไฟฟ้าที่มีวัตต์ต่ำ สำหรับบริเวณที่จำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้ทั้งคืน ไม่ว่าจะเป็นในบ้านหรือนอกบ้าน เพื่อประหยัดไฟฟ้า

๔๘. ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะทำงานหรือติดตั้ง เฉพาะจุดแทนการเปิดไฟฟ้าทั้ง ห้องเพื่อทำงานจะประหยัดไฟฟ้าลงได้มาก

๔๙. ควรใช้สีอ่อนตกแต่งอาคาร ทาผนังภายนอกอาคารเพื่อการสะท้อนแสงที่ดี และทาภายในอาคารเพื่อทำให้ห้องสว่างได้มากกว่า

๕๐. ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น การติดกระจกหรือติดฟิล์มที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน แต่ยอมให้แสงผ่านเข้าได้เพื่อลดการใช้พลังงานเพื่อแสงสว่างภายใน อาคาร

๕๑. ถอดหลอดไฟอีกครึ่งหนึ่ง ในบริเวณที่มีความต้องการใช้แสงสว่างน้อย หรือบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอแล้ว

๕๒. ปิดตู้เย็นให้สนิททำความสะอาดภายในตู้เย็น และแผ่นระบายความร้อนหลังตู้เย็น สม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ตู้เย็นทำงานหนักและเปลืองไฟ

๕๓. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ อย่านำของร้อนมาแช่ในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานเพิ่มขึ้นกินไฟมาก

๕๔. ตรวจสอบขอบยางประตูของตู้เย็นไม่ให้เสื่อมสภาพ เพราะจะทำให้ความเย็นรั่ว ออกมาได้ทำให้สิ้นเปลืองไฟมากกว่าที่จำเป็น

๕๕. เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดของครอบครัว อย่าใช้ตู้เย็นใหญ่เกินความจำเป็นเพราะกินไฟเกินไป และควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากฝาผนังบ้าน ๑๕ ซม.

๕๖. ควรละลายน้ำแข็งในตู้เย็นสม่ำเสมอ การปล่อยให้น้ำแข็งจับหนาจนเกินไปจะทำให้เครื่องต้อง ทำงานหนักทำให้กินไฟมาก

๕๗. เลือกซื้อตู้เย็นประตู้เดียว เนื่องจากตู้เย็นสองประตูจะกินไฟ มากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เพราะต้องใช้ท่อน้ำยาความเย็นที่ยาวกว่า และใช้คอมเพรสเซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า

๕๘. ควรตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม การตั้งตัวเลขต่ำเกินไปอุณหภูมิจะเย็นน้อย ถ้าตั้งที่ตัวเลขสูงจะเย็นมาก เพื่อให้ประหยัดไปพลังงานควรตั้งที่เลขต่ำที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม

๕๙. ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะในเวลารีดผ้า เพราะต้องใช้ความร้อนในการรีดมาก เสียพลังงานมากขึ้น เสียค่าไฟมากขึ้นด้วย

๖๐. ดึงปลั๊กออกก่อนรีดผ้าเสร็จ เพราะความร้อนที่เหลือในเตารีดยังสามารถรีดได้ต่อจนกระทั้งเสร็จ ช่วยประหยัดไฟฟ้า

๖๑. เสียบปลั๊กครั้งเดียวต้องรีดให้เสร็จไม่ควรถอดปลั๊ก และเสียบปลั๊กเตารีดบ่อย ๆ เพราะการที่ทำให้เตารีดร้อนแต่ละครั้งกินไฟมาก

๖๒. ลด ละ เลี่ยง การใส่เสื้อสูท เพราะไม่เหมาะกับสภาพอากาศเมืองร้อน สิ้นเปลืองการตัด ซักรีด และความจำเป็นในการเปิดแอร์

๖๓. ซักผ้าด้วยเครื่องควรใส่ผ้าให้เต็มกำลังของเครื่อง เพราะซัก ๑ ตัว กับซัก ๒๐ ตัว ก็ต้องใช้น้ำเท่ากันในการซักแต่ละครั้ง

๖๔. ไม่ควรอบผ้าด้วยเครื่องเมื่อใช้เครื่องซักผ้าอยู่ เพราะเปลืองไฟมาก ควรตากเสื้อผ้ากับแสงแดดหรือแสงธรรมชาติจะดีกว่า ทั้งยังช่วยประหยัดไฟได้มากกว่า

๖๕. ปิดโทรทัศน์ทันทีเมื่อไม่มีคนดู เพราะการเปิดโทรทัศน์ ทิ้งไว้โดยไม่มีคนดูเป็นการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยใช่เหตุ แถมยังต้องซ่อมเร็วอีกด้วย

๖๖. ไม่ควรปรับจอโทรทัศน์ให้สว่างมากเกินไป และอย่าเปิดเสียงโทรทัศน์ดังเกินความจำเป็น เพราะเปลืองไฟและยังทำให้อายุการใช้งานสั้นลงอีกด้วย

๖๗. อยู่บ้านเดียวกันดูรายการโทรทัศน์รายการเดียวกัน ก็ควรดูเครื่องเดียวกันไม่ชใช่ดูคนละเครื่องคนละห้อง เพราะสิ้นเปลืองพลังงาน

๖๘. เช็ดผมให้แห้งทุกครั้งก่อนเป่าผมทุกครั้ง ใช้เครื่องเป่าผมสำหรับแต่งทรงผม ไม่ควรใช้ทำให้ผมแห้ง เพราะต้องเป่าผมนานเปลืองไฟฟ้า

๖๙. ใช้เตาแก๊สหุงต้มอาหาร ประหยัดกว่าการใช้เตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้า และควรตั้งวาล์วนิรภัย ( SAFETY VALVE ) เพื่อความปลอดภัย

๗๐. เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก ๕ นาที เพราะความร้อนที่เตาจะร้อนต่ออีกอย่างน้อย ๕ นาที เพียงพอที่จะทำให้อาหารสุกได้

๗๑. อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เพราะระบบอุ่นทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้าเกินความจำเป็น

๗๒. กาต้มน้ำไฟฟ้าต้องดึงปลั๊กออกทันทีเมื่อน้ำเดือด อย่าเสียบไฟไว้เมื่อไม่มีคนอยู่ นอกจะไม่ประหยัดแล้วอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้

๗๓. แยกสวิตซ์ไฟออกจากกันให้สามารถ เปิด ปิด ได้เฉพาะจุดไม่ใช่ปุ่มเดียวกัน เปิดปิดทั้งชั้นทำให้เกิดการสิ้นเปลืองและสูญเปล่า

๗๔. หลีกเลียงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องมีการปล่อยความร้อน เช่น กาต้มน้ำ หม้อหุงต้ม ไว้ในห้องที่มีแอร์

๗๕. ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ และหมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าอ ยู่เสมอจะทำให้ลดการสิ้นเปลืองไฟได้

๗๖. อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ไว้นานถ้าไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบลดกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่องเมื่อพักการทำงาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ ๓๕ - ๔๐ และถ้าหากปิดหน้าจอทันทีเมื่อไม่ใช้งานจะประหยัดไฟร้อยละ ๖๐

๗๗. ดูสัญลักษณ์ ENERGY STAR ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ ซึ่งงจะช่วยประหยัดพลังงานลดการใช้กำลังไฟฟ้า เพราะมีระบบประหยัดไฟฟ้าอัตโนมัติ

วิธีประหยัดน้ำ

๗๘. ใน้ำอย่างประหยัดหมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเพื่อ ลดการสูณเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์

๗๙. ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลาตอนล้างหน้า แปรงฟัน โกนหนวด และถูสบู่ตอนอาบน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์นาทีละหลาย ๆ ลิตร

๘๐. ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือเพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือ เพราะการใช้สบู่ก้อนล้างมือจะใช้เวลา มากกว่าการใช้สบู่เหลวที่ไม่เข้มข้น

จะใช้น้ำน้อยกว่าการล้างมือด้วยสบู่เหลวที่เข้มข้น

๘๑. ซักผ้าด้วยมือ ควรกรองน้ำใส่กะละมังแค่พอใช้ อย่าเปิดน้ำไหลตลอดเวลาซัก เพราะสิ้นเปลืองมากกว่าการซักโดยวิธีการขังน้ำ ไว้ในกะละมัง

๘๒. ใช้ SPRINKLER หรือฝักบัวลดน้ำต้นไม้แทนการฉีดน้ำด้วยสายยาง จะประหยัดน้ำได้มากกว่า

๘๓. ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะที่ล้างรถ เพราะจะใช้น้ำถึง ๔๐๐ ลิตร แต่ถ้าล้างด้วยน้ำและฟองน้ำในกระป๋อง หรือภาชนะบรรจุน้ำจะลดการใช้น้ำได้มากถึง ๓๐๐ ลิตรต่อการล้าง ๑ ครั้ง

๘๔. ไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป เพราะนอกจากจะมีความสิ้นเปลืองน้ำ แล้วยังทำให้เกิดสนิมที่ตัวถังได้ด้วย

๘๕. ตรวจสอบท่อน้ำรั่วภายในบ้าน ด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกตัวภายในบ้ายหลังจากที่ทุกคนเข้านอนจดหมายเลข วัดน้ำไว้ ถ้าตอนเช้ามาตรเคลื่อนที่โดยที่ยังไม่มีใครเปิดน้ำใช้ ก็เรียกช่างมาตรวจซ่อมได้เลย

๘๖. ควรล้างพืชผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะที่มีการกักเก็บน้ำไว้เพียงพอ เพราะการล้างน้ำที่ไหลออกจากก๊อกน้ำโดยตรง จะใช้น้ำมากกว่าการล้างด้วยน้ำที่บรรจุไว้ในภาชนะถึงร้อยละ ๕๐

๘๗. ตรวจสอบชักโครก ว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่ต้องให้ลองหยดสีผสมอาหารลงในถังพักน้ำ แล้วสังเกตดูที่คอห่านหากมีน้ำสีลงมาโดยที่ไม่ได้กดชัก โครกให้รีบจัดการซ่อมได้เลย

๘๘. ไม่ใช้ชักโครกที่เป็นเศษอาหาร กระดาษ สารเคมี เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำจากการกดชักโครกเพื่อไล่สิ่งของลงท่อ

๘๙. ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่น ชักโครก ประหยัดน้ำ ฝักบัวประหยัดน้ำ ก๊อกประหยัดน้ำ หวัฉีดประหยัดน้ำเป็นต้น

๙๐. ติด AREATOR หรืออุปกรณ์เติมอากาศให้แก่น้ำที่ไหลออกจากหัวก๊อก ลดปริมาณการไหลของน้ำช่วยประหยัด

๙๑. ไม่ควรลดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัด เพราะน้ำจะระเหยหมดไปเปล่า ๆ ให้ลดน้ำตอนเช้าที่อากาศยังเย็นอยู่ การระเหยจะต่ำกว่า ช่วยให้ประหยัดน้ำ

๙๒. อย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือในแก้วโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร ใช้ลดน้ำต้นไม้ ใช้ชำระพื้นผิวใช้ชำนะความสะอาดสิ่งต่าง ๆ ได้อีกมาก

๙๓. ควรใช้เหยือกน้ำกับแก้วเปล่าในการบริการน้ำดื่ม และผู้ที่ต้องการดื่มรินน้ำดื่มเอง และควรดื่มให้หมดทุกครั้ง

๙๔. ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้จะประหยัดน้ำได้มากกว่าการล้างจาน ด้วยวิธีการปล่อยน้ำไหลจากก๊อกตลอดเวลา

๙๕. ติดตั้งระบบน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บ และจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงโลกเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานไป สูบและจ่ายน้ำภายในอาคาร

วิธีการประหยัดไฟอื่น ๆ

๙๖. อย่าใช้กระดาษหน้าเดียวทิ้ง ให้ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าใช้ทั้งสองหน้าให้นึกเสมอว่ากระดาษ แต่ละแผ่นมีค่าหมายถึงต้นไม้หนึ่งที่ต้องเสียไป

๙๗. ในสำนักงานให้ใช้การส่งเอกสารต่อ ๆ กันแทนการสำเนาเอกสารหลาย ๆ ชุด เพื่อประหยัดพลังงานและกระดาษ

๙๘. ลดการศูนย์เสียกระดาษเพิ่มมากขึ้นด้วยการหลีกเลี่ยง การใช้กระดาษปะหน้าโทรสารชนิดเต็มแผ่น และหันมาใช้กระดาษเล็กที่สามารถตัด พับบนโทรสารได้ง่าย

๙๙. ใช้การส่งผ่านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่าน ระบบคอมพิวเตอร์โดยโมเด็ม หรือแผ่นดิสก์ แทนการส่งข่าวสารข้อมูลเอกสาร ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ลดการใช้พลังงานได้มาก

๑๐๐. หลีกเลียงการใช้จานกระดาษ แก้วน้ำกระดาษ เวลาจัดงานสรรค์ต่าง ๆ เพราะสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต

๑๐๑. รู้จักแยกแยะประเภทของขยะ เพื่อช่วยลดขั้นตอนและลดพลังงานในการทำลายขยะ ทำให้ขยะทั้งหลายง่ายต่อการกำจัด

๑๐๒. หนังสือพิมพ์อ่านเสร็จแล้วอย่าทิ้ง ให้เก็บไว้ขาย หรือพับถุง เก็บไว้ทำอะไรอย่างอื่น ใช้ซ้ำทุกครั้งถ้าทำได้ ช่วยลดการใช้พลังงานในการผลิต

๑๐๓. ขึ้นลงชั้นเดียวหรือสองชั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ลิฟท์ จำไว้เสมอว่าการกดลิฟท์ จำไว้เสมอว่าการกดลิฟท์แต่ละครั้งสูญเสียพลังงานถึง ๗ บาท

๑๐๔. งด เลิก บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานในงานในการผลิต ใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลือง เพิ่มปริมาณขยะเปลืองพลังงานในการกำจัดขยะ

๑๐๕. ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการทำลาย เช่น โฟม หรือ พลาสติกควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ( REUSE ) หรือนำไปผ่านกระบวนการผลิตมาใช้ใหม่ ( RECYCLE )

๑๐๖. สนับสนุนสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ เป็นวัสดุที่สามารถนำมาผ่านกระบานการนำมาใช้ใหม่ ( CYCLE )

เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก บางประเภท โดยจัดให้มีการแยกขยะในครัวเรือนและในสำนักงาน

๑๐๗. ให้ความร่วมมือสนับสนุน หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่รณรงค์ ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พลังงาน

๑๐๘. กระตุ้นเตือนให้ผู้อื่นช่วยกันประหยัด โดยการติดสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายให้ช่วยประหยัดไฟตรง บริเวณใกล้สวิทซ์ไฟ เพื่อเตือนให้ปิดเมื่อเลิกใช้แล้ว

คนไทยทุก ๆ คน สามารถช่วยชาติได้ด้วยการประหยัดพลังงาน ซึ่งนอกจาก ๑๐๘ วิธีประหยัดพลังงานแล้วยังมีวิธีอื่น ๆ อีกมากมายที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงานที่ประเทศต้องเสียไปอย่างมาก มายมหาศาลในแต่ละปีอย่างไรก็ดี ๑๐๘ วิธีประหยัดพลังงานนี้อาจเป็นจุด เริ่มต้นให้คนไทยรู้จักคุณค่าพลังงานอย่าง ระมัดระวังไม่ให้รั่วไหลสูญเปล่า อีกต่อไปด้วยวิธีการปฏิบัติอย่างง่าย ๆ ทำทันทีและดีที่สุดก็คือการปฏิบัติเคยชิน จนเป็นนิสัยเป็นกิจวัตรสืบไปเพื่อชาติของเรา จะไม่ต้องพบกับคำว่าวิกฤติเศรษฐกิจหรือวิกฤติพลังงานอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: